ภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1-3 วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Abstract
บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: ปัจจุบันโรคซึมเศร้าเป็นหนึ่งในปัญหาทางจิตที่สำคัญ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1- 3 วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง ในนักศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิกที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2562 โดยใช้แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐาน แบบประเมินภาวะซึมเศร้า Patient Health Questionnaire (PHQ-9) และแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาสำหรับข้อมูลทั่วไป และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับภาวะซึมเศร้าโดยใช้สถิติถดถอยโลจิส-ติคแบบตัวแปรเดี่ยว การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคสหสัมพันธ์และนำเสนอผลในรูปแบบของอัตราส่วนออดแบบหยาบ อัตราส่วนออดที่ปรับแล้ว และค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95
ผลการศึกษา: นักศึกษาแพทย์ที่เข้าร่วม 143 ราย (เพศชาย 53 ราย หญิง 90 ราย) ความชุกของภาวะซึมเศร้าพบได้ ร้อยละ 32.87 มีภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อย ร้อยละ 27.97 ซึมเศร้าปานกลาง ร้อยละ 4.20 ซึมเศร้ารุนแรง ร้อยละ 0.70 ซึ่งปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า คือ ปัญหาการสอบ บิดามารดาอยากให้เรียนแพทย์ ความรู้สึกไม่สนุกน่าเบื่อต่อการเรียนการสอน และความพร้อมของนักศึกษาในการเรียนการสอน
สรุป: นักศึกษาแพทย์ในชั้นปรีคลินิกพบมีภาวะซึมเศร้าสูงถึง ร้อยละ 32.87 มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ปัญหาการสอบ บิดามารดาอยากให้เรียนแพทย์ ความรู้สึกไม่สนุกน่าเบื่อต่อการเรียนการสอน และความพร้อมของนักศึกษาในการเรียนการสอน ตามลำดับ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้เป็นการยืนยันความสอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้าและถือเป็นหนึ่งในข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนช่วยเหลือนักศึกษาแพทย์ที่มีปัญหาภาวะซึมเศร้าได้ต่อไปในอนาคต
คำสำคัญ : ภาวะซึมเศร้า; นักศึกษาแพทย์; ชั้นปรีคลินิก
Abstract
Background and Objective: Depression plays an important role in mental disorders. This study aimed to investigate the prevalence and associated factors of depression in the first to third year medical students of College of Medicine and Pubic Health, Ubonratchatani University.
Methods: A cross-sectional descriptive study was performed on pre-clinical year medical students who registered in 2019. The participants completed a general information, the Thai-version of Patient Health Questionnaire (PHQ-9), and the questionnaire about factors that involved in depression Descriptive statistics were analyzed with general information. To determine the relationship between the factors and depression using univariate logistic regression and multivariate logistic regression were used and presented in a crude odds ratio, adjusted odds ratio, and 95%confidence interval.
Results: Of the 143 first to third year medical students that participated in the study, 53 were male and 90 were female. The prevalence of depression was found to be 32.87 %; 27.97 % had mild depression, 4.20 % had moderate depression and 0.70 % had severe depression. Depression related with many factors in this study including student examination, parents’ decisions of study in medicine, disinterest in studies and un-readiness to learn.
Conclusions and Discussions: Pre-clinic medical students had a high rate of depression at 32.9% and related with student examination, parents’ decisions of study in medicine, disinterest in studies and un-readiness to learn, respectively. The results from this study confirmed previous study results and might be one of basic information for further supports medical student who has depression.
Keywords: Depression; Medical student; Pre-clinical year