อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะไขมันในเลือดผิดปกติในบุคลากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Authors

  • Sophida Suwannabupha Master student of Master of Public Health Program in Epidemiology, Faculty of Public Health, Khon Kaen University
  • Supot Kamsa-ard Department of Epidemiology and Biostatistics, Faculty of Public Health, Khon Kaen University

Abstract

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia) อาจส่งผลต่อภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด จุดประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะไขมันในเลือดผิดปกติในบุคลากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลจากฐานการตรวจสุขภาพประจำปี ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2561 จำนวน 753 ราย และติดตามการเกิดภาวะไขมันในเลือดผิดปกติทุกราย วิเคราะห์อุบัติการณ์และหาความสัมพันธ์ โดยโมเดลเชิงเส้นโดยนัยทั่วไป (Generalized Linear Model: GLM) นำเสนอค่า Adjusted RR พร้อมช่วงเชื่อมั่น 95%

ผลการศึกษา: อุบัติการณ์ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ 68.1 ต่อ 100 ราย ต่อปี (95% CI : 64.7 - 71.4) เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรที่เหลือในสมการสุดท้ายแล้วพบว่า บุคลากรที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มีโอกาสเสี่ยงเกิดภาวะไขมันในเลือดผิดปกติเป็น 1.23 เท่า เมื่อเทียบกับบุคลากรที่ไม่ดื่ม (Adjusted RR = 1.23, 95% CI : 1.05 - 1.38, p = 0.007)

สรุป: เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ และพบว่าอุบัติการณ์ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติในบุคลากรค่อนข้างสูง ดังนั้น ควรมีระบบดูแลบุคลากรกลุ่มเสี่ยงในการส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษา เพื่อป้องกันความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น

คำสำคัญ : ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ; อุบัติการณ์; โมเดลเชิงเส้นโดยนัยทั่วไป

 

Abstract

Background and Objectives: Dyslipidemia is an important risk factor for coronary artery disease and stroke. Our aims were to determine incidence and investigated the relationship between the various factors and Dyslipidemia among personnel of Faculty of Medicine, Khon Kaen University.

Method: These data collected from personnel of Faculty of Medicine data base between 2017 and 2018, of 753 patients and follow up until Dyslipidemia occurred. We estimated incidence and investigated the relationship between various factors and dyslipidemia by using Generalized Linear Models (GLM), presenting Adjusted RR ​​and theirs 95% confidence interval.

Results: Incidence rate was 68.1 person-year (95% CI: 64.7 - 71.4). After adjusting all variables in the model, personnel who drinking alcohol at risk of developing dyslipidemia was 1.23 times when compared to who did not. (Adjusted RR = 1.23, 95% CI: 1.05 - 1.38, p=0.007)

Conclusion: Drinking alcohol is at risk of developing dyslipidemia. Therefore, there should be a set up for personnel who are risk group to referral for treatment and to raise awareness.

Keywords: Dyslipidemia; Incidence; Generalized Linear Model

Downloads

Published

2021-09-30

Issue

Section

Original Articles