ผลลัพธ์การรักษาด้านคุณภาพชีวิตและภาพลักษณ์ของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่กลุ่มช่วงอายุ 10 ปี
Abstract
หลักการและวัตถุประสงค์: ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยทีมสหวิทยาการและใช้เวลาการรักษาที่นาน ความผิดปกติส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและภาพลักษณ์ความสวยงามในผู้ป่วยวัยแรกรุ่น
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่กลุ่มช่วงอายุ 10 ปี ที่เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องจากศูนย์ตะวันฉาย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ระหว่างปี พ.ศ.2560-2562 จำนวน 30 ราย เครื่องมือคือแบบสอบถามคุณภาพชีวิต 5 ด้าน จำนวน 39 ข้อ มีค่าความเที่ยง 0.94 และภาพถ่ายผู้ป่วยหน้าตรงด้านข้างเพื่อประเมินภาพลักษณ์ 4 มิติ ให้ค่าคะแนนความสวยงาม 5 ระดับจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 53.3 มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ข้างเดียวชนิดสมบูรณ์ ร้อยละ 63.3 ส่วนใหญ่พ่อแม่เป็นผู้ดูแลหลักและเรียนจบชั้นประถมศึกษาร้อยละ 73.3 รายได้ครอบครัวต่อเดือนอยู่ในช่วง 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 30 ส่วนคุณภาพชีวิต 5 ด้าน ได้แก่ การบริการ พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (4.30±0.98) ด้านการรักษาพยาบาลและค่ารักษาพยาบาล มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (3.72±1.15),(3.70±1.14) ส่วนความพึงพอใจของผู้ปกครองในมิติจิตสังคมและผลกระทบต่อครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง (3.33±1.08), (2.81±1.46) ด้านภาพลักษณ์ของใบหน้า ส่วนใหญ่มีค่าคะแนนเฉลี่ยความสวยงามอยู่ในระดับดี ร้อยละ 53.3
สรุป: ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชายและมีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ข้างเดียวชนิดสมบูรณ์ ผู้ปกครองให้ความเห็นว่ามีคุณภาพชีวิตระดับดีถึงดีมาก 3 ด้าน และระดับปานกลาง 2 ด้าน ด้านภาพลักษณ์ส่วนใหญ่มีค่าคะแนนเฉลี่ยความสวยงามอยู่ในระดับดี
คำสำคัญ: ปากแหว่งเพดานโหว่; คุณภาพชีวิต; ภาพลักษณ์ 4 มิติ
Background and Objectives: Cleft lip and palate (CLP) requires a long term management from an interdisciplinary team since it affects the quality of life (QoL) and nasolabial appearance in patients during puberty.
Methodology: The descriptive studies in 10–year-old group of patients with CLP who received treatment care from Tawanchai Center, Srinagarind Hospital, during the Year 2017-19, a total of 30 cases. The tool was a five-aspect QoL questionnaire with39 items with a reliability of 0.94, photos of patients face in frontal and lateral sides to assess nasolabial appearance in 4 dimensions. The score of aesthetics rating scale of 5 levels from 5 raters was gathered. The data were analyzed by using percentage statistics, mean and standard deviation.
Results: It was found that 53.3% of the patients were male, 63.3 percent of the total UCLP. Most of the parents were primary caregivers and73.3 percent of the parents completed primary school. The family income per month was in the range of 5,001-10,000 baht (30percent). While the QoL in 5 aspects showed the satisfaction level as follows; the service was at the highest level (4.30 ± 0.98), medical treatment and expenses was at a high level (3.72 ± 1.15), (3.70 ± 1.14), the parents in the psychosocial dimension, and the impact on the family was moderate (3.33 ± 1.08), (2.81 ± 1.46). As for the nasolabial appearance most of them had a good average score 53.3 percent.
Conclusion: Most of the patients were male and had UCLP. Parents had 3 aspects of good to very good QoL and 2 moderate levels. Most of them had a good to average nasal appearance.
Keywords: Cleft lip and Palate; Quality of life; Nasolabial appearance 4 dimensions