การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อการใช้ชุดหุ่นจำลองฟันหน้าม้ากับสื่อความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) ในการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์

Authors

  • Witthaya Yohaken Bachelor of Science Program in Medical Illustration, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Piyanat Sudee Bachelor of Science Program in Medical Illustration, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Kan Komany Bachelor of Science Program in Medical Illustration, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Pakarat Tempiam Bachelor of Science Program in Medical Illustration, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Dodsadee Musikpodohe Bachelor of Science Program in Medical Illustration, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Songpol U-Pachitakul Bachelor of Science Program in Medical Illustration, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Suwit Uopasai Department of Anatomy, Faculty of Veterinary Medicine, Khon Kaen University

Abstract

The Study of the Satisfaction of Veterinary Students of Khon Kaen University on the Use of Horse Incisor Teeth Models with Augmented Reality (AR) Media in Anatomy Teaching

Witthaya Yohaken1, Piyanat Sudee1*, Kan Komany1, Pakarat Tempiam1, Dodsadee Musikpodohe1, Songpol U-Pachitakul1, Suwit Uopasai2

1Bachelor of Science Program in Medical Illustration, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

2Department of Anatomy, Faculty of Veterinary Medicine, Khon Kaen University

*Corresponding author: Piyanat Sudee, Bachelor of Science Program in Medical Illustration, Faculty of Medicine, Khon Kaen University. E-mail: psudee@kku.ac.th

 

หลักการและวัตถุประสงค์: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อการใช้ชุดหุ่นจำลองฟันหน้าม้ากับสื่อความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) ในการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์ โดยเนื้อหาที่สำคัญคือการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์ของฟันหน้าม้า เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคาดคะเนอายุของม้า เพื่อประโยชน์ในการนำม้าไปใช้งาน ในการซื้อขายและการทำกรมธรรม์ประกันภัย อีกทั้งมีประโยชน์ในการพยากรณ์โรคของม้าด้วย นอกจากนั้นวิธีการคาดคะเนอายุของม้านี้ยังใช้ประโยชน์ได้ดีสำหรับสัตว์ชนิดอื่น ๆ ได้อีกด้วย

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 24 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ หุ่นจำลองฟันหน้าม้า พร้อมสื่อ AR และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหุ่นจำลองฟันหน้าม้า พร้อมสื่อ AR สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา: พบว่า หุ่นจำลองฟันหน้าม้าที่เป็นสื่อการสอนหลัก และสื่อ AR ที่เป็นสื่อเสริมการเรียนรู้มีคุณภาพ สามารถช่วยให้กลุ่มตัวอย่างเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาเรื่องฟันหน้าม้าได้เป็นอย่างดี และมีผลประเมินความพึงพอใจต่อหุ่นจำลองฟันหน้าม้า อยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.69 คิดเป็นร้อยละ 93.85 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.46 และมีผลประเมินความพึงพอใจต่อสื่อ AR โดยระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.72 คิดเป็นร้อยละ 94.11 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.45

สรุป:  พบว่า กลุ่มตัวอย่างสามารถเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาเรื่องฟันหน้าม้าจากชุดหุ่นลำลอง พร้อมสื่อ AR ได้เป็นอย่างดี สามารถนำชุดหุ่นลำลองฟันหน้าม้า พร้อมสื่อ AR ไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพต่อไปได้

คำสำคัญ: หุ่นจำลองฟันหน้าม้า; ความเป็นจริงเสริม (เออาร์); การวิจัยเชิงพัฒนา

 

Background and Objective: The objectives of this study were to study of the satisfaction of veterinary students at Khon Kaen university on the use of Horse incisor teeth models with Augmented Reality (AR) media in anatomy teaching. The important content was studying incisor teeth anatomy of horses to estimation the age for using the horse properly, for trading, for insurance policy and also for disease prognosis. Moreover, the estimate of horse age will be also useful for other animals.

Methods: This study was developmental research. Samples were 24 students from Faculty of Veterinary Medicine, Khon Kaen university. The study instruments were horse incisor teeth models with AR and satisfaction questionnaires. Statistic measurements for data analysis were mean, percentage and standard deviation.

Results: The horse incisor teeth models are main instructional media with AR is supplementary instructional media showed good quality and helped the experimental group to learn and understand content of horse teeth. Result of satisfaction evaluation of horse incisor teeth models was in a highest level with mean of 4.69, percentage of 93.85 and standard deviation 0.46 and result of satisfaction evaluation for AR was also in a highest level with mean of 4.72, percentage of 94.11 and standard deviation 0.45.

Conclusion: The experimental group was able to learn and understand content of horse incisor teeth models with AR well. The horse incisor teeth models with AR can be used as an effective instructional media.

Keywords: Horse incisor teeth models; Augmented Reality (AR); Developmental research

Downloads

Published

2021-10-04

Issue

Section

Original Articles