อัตรารอดชีพผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ของโรงพยาบาล ยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

Authors

  • Khrongkwan Pudeebut Master student of Master of Public Health Program in Epidemiology, Faculty of Public Health, Khon Kaen University
  • Supot Kamsa-ard Department of Epidemiology and Biostatistics, Faculty of Public Health, Khon Kaen University
  • Orawan Oradee Chronic Kidney Disease Clinic Yangtalad Hospital, Kalasin province

Abstract

Survival Rates for Patients with End-stage Renal Disease Receiving Renal Replacement Therapy at  Yang Talat Hospital, Kalasin Province, Thailand

หลักการและวัตถุประสงค์:  ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายโดยเฉพาะในจังหวัดกาฬสินธุ์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจึงทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยวิธีการบำบัดทดแทนไต งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและอัตรารอดชีพผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตโดยวิธีล้างไตทาง
ช่องท้องและการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ของโรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

 วิธีการศึกษา : แบบ Retrospective cohort study  โดยใช้ฐานขอมูลผู้ป่วยจากระบบสารสนเทศโรงพยาบาล
ยางตลาด ระหว่าง 1 สิงหาคม 2553 ถึง 31 ธันวาคม 2560 ด้วยวิธีการติดตามผู้ป่วยทุกรายเพื่อให้ได้ข้อมูลสถานะสุดท้ายการมีชีวิตจนถึง 31 ธันวาคม 2563 ด้วยการวิเคราะห์อัตรารอดชีพ จำนวน 196 ราย โดย วิธี Kaplan-Meier สถิติทดสอบโดย Log-rank test และทดสอบปัจจัยเสี่ยงโดยใช้สถิติ Cox regression

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตโดยวิธีการล้างไตทางช่องท้อง
มีโอกาสเสี่ยงต่อการตายเป็น 1.93 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตโดยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Adjusted HR=1.93; 95% CI; 1.09 – 3.39, p= 0.021)  อัตราการรอดชีพในระยะเวลา 1,3 และ 5 ปี ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตโดยวิธี HD เท่ากับ
ร้อยละ 92.7 ,82.7 และ 68.7  วิธี CAPD เท่ากับ ร้อยละ 88.6 ,63.4 และ 47.8

สรุป:  วิธีการบำบัดทดแทนไตโดยวิธีล้างไตทางช่องท้องมีโอกาสเสี่ยงต่อการตายมากกว่าวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

คำสำคัญ: ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย, การล้างไตทางช่องท้อง,การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, อัตราการรอดชีพ

Background and Objective:   Numbers of patients with end-stage renal disease  are  increasing , especially in Kalasin Province. This study  analyzed patient data from Health Information System to compare survival rates  of end-stage renal failure patients receiving renal replacement therapy  at Yang Talat Hospital.

Method: This  was a  retrospective cohort study using   the chronic renal failure  medical record database at Yang Talat Hospital's hemodialysis clinic, for patients registered between  August 1st, 2010 and December 31st, 2017.  All 196 patients were then followed up  until 31st December 2020. Survival rates were  analyzed by the Kaplan-Meier method. The log-rank test was used to compare survival distributions between groups. Multivariate  analysis was conducted using a Cox regression.

Result: After adjusting for  co-morbidity  of serum albumin and  peritonitis, we found  end-stage renal failure patients receiving continuous ambulatory peritoneal dialysis renal replacement therapy had 1.93 times  risk of death compared with end-stage renal failure patients who received renal replacement therapy by hemodialysis. (Adjusted HR = 1.93; 95% confidence interval; 1.09 - 3.39; p=0.021).The survival rates at 1, 3 and 5 years of end-stage renal failure patients who received renal replacement therapy by hemodialysis were  92.7%, 82.7% , and 68.7%, and by peritoneal dialysis were 88.6% , 63.4%, and 47.8% respectively.

Conclusion: Survival rates for patients receiving  renal replacement therapy by hemodialysis were higher than those  receiving  renal replacement therapy by peritoneal dialysis.

Keyword : End-stage renal failure patients, peritoneal dialysis and hemodialysis

Downloads

Published

2022-04-27

Issue

Section

Original Articles