อัตรารอดชีพผู้ป่วยมะเร็งตับหลังการวินิจฉัย ที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี
Abstract
Survival Rate of Liver Cancer Patients After Diagnosis at Ubon Ratchathani Cancer Hospital
บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: อุบัติการณ์มะเร็งตับและท่อน้ำดีพบสูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดอุบลราชธานี ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตรารอดชีพผู้ป่วยมะเร็งตับหลังการวินิจฉัยที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี
วิธีการศึกษา : แบบ Retrospective cohort study ข้อมูลจากทะเบียนมะเร็งโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี
ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเซลล์ตับ (Hepatocellular Carcinoma, HCC) และมะเร็งท่อน้ำดี(Cholangiocarcinoma, CCA) ระหว่าง 1 มกราคม 2557 ถึง 31 ธันวาคม 2561 ติดตามสถานะสุดท้ายผู้ป่วยทุกราย ถึง 31 ธันวาคม 2563 จำนวน 1,764 ราย วิเคราะห์อัตรารอดชีพ โดยวิธี Kaplan-Meier นำเสนอค่ามัธยฐานการรอดชีพและช่วงความเชื่อมั่น 95 %
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วย HCC 847 ราย อัตราเสียชีวิต 68.6 ต่อ 100 รายต่อปี (95% CI: 63.7 ถึง 73.7) ผู้ป่วย CCA 917 ราย อัตราเสียชีวิต 96.5 ต่อ 100 รายต่อปี (95% CI: 90.1 ถึง 103.2), มัธยฐานการรอดชีพ HCC 0.6 ปี (95% CI: 0.5 ถึง 0.7), CCA 0.4 ปี (95% CI: 0.3 ถึง 0.4) และอัตรารอดชีพที่ 1,3 และ 5 ปี HCC ร้อยละ 37.1 (95% CI: 33.8 ถึง 40.3 ), 16.8 (95% CI: 14.4 ถึง 19.5) และ 12.7 (95% CI: 10.4 ถึง 15.3) และ CCA ร้อยละ 27.4 (95% CI: 24.5 ถึง 30.3 ), 9.6 (95% CI: 7.8 ถึง 11.6) และ 7.1 (95% CI: 5.5 ถึง 9.0) ตามลำดับ
สรุป: อัตรารอดชีพผู้ป่วยมะเร็งตับหลังการวินิจฉัยที่ 5 ปี มีค่ามัธยฐานน้อย โดยเฉพาะ CCA การป้องกันที่ดีที่สุดคือการตรวจหามะเร็งระยะแรก เพื่อให้รับการรักษาได้รวดเร็วจะช่วยยืดระยะเวลารอดชีพให้ยาวนานขึ้น
คำสำคัญ: มะเร็งตับ, อัตรารอดชีพ, ทะเบียนมะเร็ง
Abstract
Background and Objectives: The incidence of liver and bile duct cancer is very high in Northeast Thailand, especially in Ubon Ratchathani Province. The objective of this study was to determine the post-diagnosis survival rate of liver cancer patients in Ubon Ratchathani Cancer Hospital.
Method : This was a retrospective cohort study using Ubon Ratchathani Cancer Registry data on patients diagnosed with hepatocellular carcinoma (HCC), or, cholangiocarcinoma (CCA) between January 1, 2014 and December 31 2018. The 1,764 cases were followed up until December 31, 2020. Survival rates were analyzed by the Kaplan-Meier method , and presented as median survival rates with 95% confidence interval.
Results : , A mortality (case-fatality) rate of 68.6 per 100 person-year was found (95%CI : 63.7 to 73.7) for the 847 HCC cases. The case-fatality rate for the 917 CCA cases was 96.5 per 100 person-year (95%CI : 90.1 to 103.2). The median survival for HCC was 0.6 years (95%CI; 0.5 to 0.7) and, for CCA was 0.4 years (95%CI; 0.3 to 0.4). The HCC survival rates at 1, 3 and 5 years were 37.1% ( 95% CI ; 33.8 to 40.3), 16.8% (95% CI ; 14.4 to 19.5) and 12.7% (95% CI ; 10.4 to 15.3). CCA survival rates for the same time periods were 27.4% ( 95% CI ; 24.5 to 30.3), 9.6% (95% CI ; 7.8 to 11.6) and 7.1% (95% CI ; 5.5 to 9.0), respectively.
Conclusion : Survival rates for liver cancer patients at five years post-diagnosis are low, especially for CCA. The best prevention is early detection, and receiving treatment quickly to prolong survival time.
Keyword : Liver Cancer; Survival rate; Cancer registry