The Prevalence of Social-Media Related Working in Patients with Spinal Cord Injury
Abstract
ความชุกของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสื่อออนไลน์ในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง
ชื่นกมล ไชยเสนา*, เสมอเดือน คามวัลย์
สาขาวิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังมักมีข้อจำกัดในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย อันส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการประกอบอาชีพ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสื่อออนไลน์ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสื่อออนไลน์กับการมีงานทำของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง
วิธีการศึกษา: รูปแบบงานวิจัยเป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ทำการศึกษาในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่มารับการรักษาที่แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึง กันยายน พ.ศ. 2564โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนและการสัมภาษณ์ ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ และข้อมูลที่เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสื่อออนไลน์ นำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีอาชีพ โดยใช้ univariate regression analysis โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์คือค่า p value
≤ 0.2 จะนำไปวิเคราะห์ต่อไปโดยใช้ multivariate regression analysis
ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 90 ราย มีผู้ป่วยที่ประกอบอาชีพออนไลน์จำนวนทั้งหมด 18 ราย (ร้อยละ 20) โดยประกอบอาชีพขายของออนไลน์มากที่สุด (ร้อยละ 77.8) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสื่อออนไลน์ที่สัมพันธ์กับการมีงานทำอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ การมีอุปกรณ์ชนิดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลใช้ จะทำมีโอกาสที่ผู้ป่วยจะมีงานทำมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ 6.23 เท่า (p=0.029; 95%CI, 1.2-32.24) ส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยอื่นพบว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ความชุกของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่มีงานทำและเกี่ยวข้องกับสื่อออนไลน์เท่ากับร้อยละ 20 ของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังทั้งหมด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการมีงานทำ ได้แก่ การมีอุปกรณ์ในการเข้าถึงสื่อออนไลน์ชนิดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
Abstract
Background and Objectives: Patients with spinal cord injury commonly have the problem with restriction of body movement, this affects patients’s quality of life in many aspects especially the career aspect. The objectives of this study were to study the prevalence of social-media related working in patients with spinal cord injury and the related factors of social media that affect the employment status.
Methods: This study was a cross-sectional descriptive study.
Participants included spinal cord injury patients who was treated and followed up in rehabilitation department, Srinagarind hospital, Khon Kaen University between October 2020 - September 2021.
The data were collected from medical records of patients and interview; which consist of demographic data of participants and relative factors of social media that affect to employment status; statistical relationship was analyzed by using univariate regression analysis, the factors that have p value less than or equal 0.2 will be further analyzed by multivariate regression analysis.
Results: A total of 90 spinal cord injury patients were enrolled in this study. There were 18 patients (20 %) who had social media-related work, most of relating social media work were online merchants (77.8%). Having their own personal computer give them a chance of being employed 6.2-fold higher than those without (p=0.029; 95%CI, 1.2-32.24).
Conclusion: The prevalence of social media work-related in patients with spinal cord injury is 20% in this study. The related factor for employment status is having their own personal computer for access the social media.