Effects of Social Support Combined with the Health Literacy Enhancement Program on Stress and Prevention Behavior of Coronavirus Disease 2019 among Village Health Volunteers in Ubon Ratchathani Province

Authors

  • Intanin Chuaboonchai Faculty of Nursing, Ubon Ratchathani Rajabhat University
  • Sirikorn Sutawanatcha Faculty of Nursing, St.Theresa International College
  • Waratip Kankarn Faculty of Nursing, Ubon Ratchathani Rajabhat University

Abstract

ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความเครียด และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดอุบลราชธานี
อินทนิล เชื้อบุญชัย1, สิริกร สุธวัชณัฐชา2, วราทิพย์ แก่นการ1*
1คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
2 คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา

หลักการและวัตุประสงค์: อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นพลังที่สำคัญต่อการดำเนินการเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิค 19)ในชุมชน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ต่อความเครียดและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิค 19 ของอสม.ในจังหวัดอุบลราชธานี

วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นเชิงกึ่งทดลองชนิดสองกลุ่มวัดก่อนหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นอสม.ที่มีความเครียดในระดับปานกลางถึงระดับสูง อายุ 25-59 ปี คัดเลือกโดยการสุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 57 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามมาตรฐานจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ติดตามผล 6 เดือนโดยใช้แบบประเมินความเครียดและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิค 19 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณ ไคสแควร์และสถิติทดสอบที

ผลการศึกษา: ภายหลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิค 19 และระดับความเครียดแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

สรุป: การสนับสนุนทางสังคมร่วมกับการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพทำให้อสม. มีพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิค 19 เพิ่มขึ้นและช่วยลดระดับความเครียด

Background and Objective: Village Public Health Volunteers (VHVs) are an important force in conducting surveillance and control of the coronavirus disease 2019 (COVID-19) in the community. The current study aimed to study the effects of social support combined with the health literacy enhancement programs on stress and prevention behavior COVID-19 among VHVs in Ubon Ratchathani province.

Methods: This study was a quasi-experimental type with two groups pretest-posttest design. The samples were VHVs with moderate to high levels of stress and were aged 25 to 59 years, randomly selected. They were divided into experimental and control groups of 55 people each. The control group received standard care from the Sub-District Health Promoting Hospital. The experimental group participated in a social support program combined with the promotion of health literacy. Follow-up was 6 months using the stress assessment form and preventive behaviors from the COVID-19.

Results: After the experiment, the results showed that the experimental group had a mean score on disease prevention behaviors COVID 19 and stress levels statistically different from the control group at .05 level.

Conclusion: Social support combined with the health literacy enhancement  makes VHVs increased covid-19 prevention behaviors and reduced stress levels.

Downloads

Published

2022-06-30

Issue

Section

Original Articles