ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่และทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ในชุมชนของตำบลปากน้ำชุมพร

Authors

  • ปิยะวรรณ กุวลัยรัตน์ ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลปากน้ำชุมพร จ.ชุมพร
  • ระรินทร์ ษรเกตุ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลปากน้ำชุมพร จ.ชุมพร
  • สุณี เลิศสินอุดม สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น
  • วิน วินิจวัจนะ สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย จ.ปทุมธานี

Abstract

Association between Residents’ Perceptions of the Smoking Cessation Campaign and Smoking Behaviors with Attitudes towards Smoking in the Communities of Paknam-Chumphon Subdistric

Piyawan Kuwalairat1*, Rarin Sornkate2, Sunee Lertsinudon3, Win Winit-Watjana4

1 Pharmacy Department. Paknam-Chumphon Hospital, Chumphon, Thailand

2 Nursing Department. Paknam-Chumphon Hospital, Chumphon, Thailand

3 Division of Clinical Pharmcy, Faculty of Pharmaceutical Science, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand

4 Pharmaceutical Care Department, School of Pharmacy, Eastern Asia University, Pathum Thani, Thailand

หลักการและวัตถุประสงค์: ความสำเร็จของการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ขึ้นอยู่กับทัศนคติและการรับรู้ต่อการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในชุมชนซี่งอาจส่งผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ทัศนคติและการรับรู้เกี่ยวกับการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในชุมชน และความสัมพันธ์ของการรับรู้เกี่ยวกับการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในชุมชนกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่

วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้ใช้การสำรวจแบบภาคตัดขวางในประชาชนอายุตั้งแต่ 15 ปีขี้นไปที่อาศัยอยู่ในชุมชนของตำบลปากน้ำชุมพรตั้งแต่กรกฎาคม – พฤศจิกายน 2563 กลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่มแบบเจาะจงและสัมภาษณ์ด้วยแบบเก็บข้อมูล แล้วรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและการสูบบุหรี่ร่วมกับทัศนคติและการรับรู้ 

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 395 ราย เป็นเพศหญิงร้อยละ 57.7 อายุเฉลี่ย 48.5 ปี และเป็นผู้สูบบุหรี่ร้อยละ 49.4 ทัศนคติต่อการไม่สูบบุหรี่ที่มากที่สุดคือในแง่กฎหมาย ทัศนคติเฉลี่ยอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (3.98) และกลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่มีคะแนนมากกว่าในกลุ่มที่สูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญ การรับรู้ต่อการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในชุมชนมีมากถึงร้อยละ 87.6 และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ซึ่งทำให้เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จโดยเฉพาะผลจากผู้นำชุมชน

สรุป: ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อการไม่สูบบุหรี่และรับรู้การรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในชุมชนซึ่งส่งดีต่อการเลิกสูบบุหรี่ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในชุมชนต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Background and Objetive: Success in smoking cessation campaign has an impact on people’s smoking behaviors. The campaign is also affected by their attitudes and perceptions. This study aimed to investigate residents’ attitudes toward smoking and their perceptions of a smoking cessation campaign in the communities, and the correlation of the perceptions and smoking behavior.

Methods: This study was a cross-sectional survey conducted in residents aged 15 or over who lived in Paknam-Chumphon subdistrict during July – November 2020. They were purposively selected and interviewed using a data collection form. The residents’ characteristics and smoking data together with attitudes and perceptions were then gathered and analyzed.

Results: A sample of 395 persons 57.7% were females with the mean age of 48.5 years and current smokers of 49.4%. Their attitudes towards no-smoking was mostly involved in the legal aspect. The mean attitude score was regarded as “strongly agree” (3.98) and the non-smokers had significantly higher scores than the smokers. The residents’ perceptions of the smoking cessation campaign was up to 87.6% and associated with their smoking behaviors that led to successful cigarette quitting, especially from the community leaders’ impacts.

Conclusion: Most residents had positive attitudes towards cigarette stopping and good perceptions of the smoking cessation campaign in the communities. Further studies are required for effective smoking cessation campaigns in various communities.

Downloads

Published

2023-02-25

Issue

Section

Original Articles