A Comparison Study between the Effects of Thai Herbal Steam and Conventional Steam on Pain Scale, Back and Leg Flexibility in Person with Low Back Pain

Authors

  • Sirintip Kumfu
  • Ajchamon Thammachai
  • Nichapa Parasin
  • Puttipong Poncumhak
  • Arunrat Srithawong
  • Weerasak T apanya
  • Kewalee Seeharach
  • Pacharee Manoi

Keywords:

Herbal Steam, Low Back Pain, Pain, Flexibility, อบไอน้ำ, ปวดหลังส่วนล่าง, ระดับความเจ็บปวด

Abstract

Background and Objective:Thai herbal steam may use as an alternative treatment for decreasing back pain. The purpose of this study was to compare the effect of Thai herbal and conventional steam on pain scale, flexibility of back and leg in person with low back pain.

Methods: Thirty five participants with non-specific low back pain aged between 35 to 60 years, were divided into two groups. 19 participants were received with Thai Herbal Steam and 16 participants were received conventional steam. Each group was received steam for 3 times and was evaluated pain by visual analog scale (VAS) and flexibility of back and leg muscles by sit and reach test before and the end of steam.

Results:After the program both groups were decrease significantly of pain and increase significantly of back and leg flexibility (p<0.05). When compared between groups, Thai herbal steam group (-36.68±13.72 mm.) was decrease significantly of pain than the conventional steam group (-19.94±11.46 mm.) p<0.001 and increase significantly of flexibility of back and leg muscles (7.11±4.25 cm.) greater than the conventional steam group (3.47±2.39 cm.) p=0.007.

Conclusion: Thai herbal steam can decrease pain and increase flexibility of back and leg muscles. Pain decreasing may be the effect from heat, properties and aroma of herbs.


การศึกษาเปรียบเทียบผลระหว่างการอบไอน้ำสมุนไพรไทยและการอบไอน้ำธรรมดาต่อระดับความเจ็บปวดและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังและขาในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง

ศิรินทิพย์ คำฟู *, อรรจน์มน ธรรมไชย, ณิชาภา พาราศิลป์, พุทธิพงษ์ พลคำฮัก, อรุณรัตน์ ศรีทะวงษ์, วีระศักดิ์ ต๊ะปัญญา, เกวลี สีหราช, ปาจรีย์ มาน้อย

สาขาวิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

หลักการและวัตถุประสงค์: การอบไอน้ำสมุนไพรอาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการช่วยลดอาการปวดหลัง วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อเปรียบเทียบผลระหว่างการอบไอน้ำสมุนไพรไทยและการอบไอน้ำธรรมดาต่อระดับความเจ็บปวดและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังและขาในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง

วิธีการศึกษา: ศึกษาในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง อายุ 35-60 ปี จำนวน 35 ราย  แบ่งเป็น กลุ่มอบไอน้ำสมุนไพรไทย จำนวน 19 ราย และกลุ่มอบไอน้ำธรรมดา จำนวน 16 ราย อบไอน้ำจำนวน 3 ครั้ง ประเมินระดับความเจ็บปวดโดย Visual analog scale ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังและขาด้วย Sit and reach test ก่อนและหลังการอบไอน้ำ

ผลการศึกษา: เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังอบไอน้ำ ทั้งสองกลุ่มมีระดับความเจ็บปวดลดลงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่ากลุ่มอบไอน้ำสมุนไพรไทย มีระดับความเจ็บปวด (-36.68 ±1 3.72 มม.) ลดลงมากกว่ากลุ่มอบไอน้ำธรรมดา (-19.94 ± 11.46มม.) (p<0.001) และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ (7.11 ± 4.25 ซม.) เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการอบไอน้ำธรรมดา (3.47 ± 2.39 ซม.) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.007)

สรุป: การอบไอน้ำสมุนไพรไทยสามารถลดระดับความเจ็บปวดและเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังและขาได้ ซึ่งอาการปวดที่ลดลงอาจเนื่องมาจากผลของความร้อน สรรพคุณและกลิ่นของสมุนไพร


References

Rungthip Puntumetakul, Wantana Siritaratiwat, Yodchai Boonprakob, Wichai Eungpinichpong, Montien Puntumetakul. Prevalence of musculoskeletal disorders in farmers: Case study in Sila, Muang Khon Kaen, Khon Kaen province. J Med Tech Phy Ther 2011; 23: 297-303.

Rungkant Plykaew, Chawapornpan Chanprasit, Thanee Kaewthummanukul. Working Posture and Musculoskeletal Disordersamong Rubber Plantation Workers. Nursing Journal 2013; 40: 1-10.

BéatriceDuthey, Low back pain. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2559] เข้าถึงได้จาก : http://www.who.int/medicines/areas/priority_medicines/BP6_24LBP.pdf.

French SD, Cameron M, Walker BF, Reggars JW, Esterman AJ. Superficial heat or cold for low back pain. Cochrane Database Syst Rev 2006; (1): CD004750.

van Tulder M, Malmivaara A, Esmail R, Koes B. Exercise therapy for low back pain: a systematic review within the framework of the cochrane collaboration back review group. Spine 2000; 25: 2784-96.

Knight CA, Rutledge CR, Cox ME, Acosta M, Hall SJ. Effect of superficial heat, deep heat, and active exercise warm up on the extensibility of the plantar flexors. Phys Ther 2001; 81: 1206-14.

กิตติ ลี้สยาม. การอบสมุนไพร. [ออนไลน์]. นนทบุรี: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2555 [เข้าถึงเมื่อ27 กุมภาพันธ์ 2559]. เข้าถึงได้จาก:http://www.stou.ac.th/schools/shs/booklet/book55_3/culture.html

Baanjomyut.com. การอบไอน้ำ.[ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 12 มกราคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.baanjomyut.com/library_2/water_for_health/12.html.

เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, อรุณพร อิฐรัตน์, เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ปราณี รัตนสุวรรณ. ต้นทุนและผลการอบไอน้ำด้วยสมุนไพรต่อการบรรเทาความเจ็บปวดผู้ป่วยเอดส์ที่รับการรักษาในวัดแห่งหนึ่งในภาคใต้. รายงานวิจัย. 2542: 8-61.

ศิรินทิพย์ คำฟู, พนิดา หาญพิทักษ์พงศ์, ใหม่ทิพย์ สิทธิตัน, พลากร อุดมกิจปกรณ์, ณัฐพล วงค์คำแดง, ดวงกมล ศรีสังข์ และคณะ. การเปรียบเทียบผลของการอบไอน้ำสมุนไพรพื้นบ้านและการอบไอน้ำธรรมดาต่อความยืดหยุ่นของร่างกาย. ศรีนครินทร์เวชสาร 2558; 30: 592-7.

ศิรินทิพย์ คำฟู, ณิชาภา พาราศิลป์. การศึกษาเปรียบเทียบผลทันทีระหว่างการอบไอน้ำสมุนไพรไทยและการอบไอน้ำธรรมดาต่อความยืดหยุ่นของร่างกายในเพศหญิง อายุ 30-45 ปี. ศรีนครินทร์เวชสาร 2560; 32 (2): 143-9.

ประวิตร เจนวรรธนะกุล. กายภาพบำบัดทางการกีฬา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

นฤพนธ์ ขันธ์บุตรศรี, ปรีดา อารยาวิชานนท์, เสกสันต์ ชัยนันต์สมิทธิ์, จตุรัตน์ กันต์พิทยา, กิตติศักดิ์ สวรรยาวิทสุทธิ์, ภารดี เอื้อวิชญาแพทย์, และคณะ. ผลของการอบไอร้อนต่อความอ่อนตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และระดับคอร์ติซอลในคนที่เป็นโรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2556; 57: 39.

Prommanon B, Puntumetakul R, Puengsuwan P, Chatchawan U, Kamolrat T, Rittitod T, et al. Effectiveness of a back care pillow as an adjuvant physical therapy for chronic non-specific low back pain treatment: a randomized controlled trial. J PhysTher Sci 2015; 27: 2035-8.

Richmond H, Hall AM, Copsey B, Hansen Z, Williamson E, Hoxey-Thomas N, et al. The Effectiveness of Cognitive Behavioural Treatment for Non-Specific Low Back Pain: A Systematic Review and Meta-Analysis. PloS one 2015; 10: e0134192.

สหัทยา ไพบูลย์วรชาติ. Pain Assessment and Measurement. [ออนไลน์]. ภาควิชา วิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [เข้าถึงเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.med.cmu.ac.th/dept/anes/2012/images/Lecture2015/Pain_Assessment.pdf.

สุพิตร สมาหิโต และคณะ. แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย สำหรับ ประชาชนไทย อายุ 19-59. [ออนไลน์]. สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.2556. [เข้าถึงเมื่อ 2 กุมภาพันธ์2559]. เข้าถึงได้จาก : http://ft.dpe.go.th/app/public/download/Test_19-59.pdf.

Kumar V. Acute dehydrative effect of stream bath on high muscle mass athletes. GJRA. 2014; 3(3).

พรรณี ปึงสุวณรรณ, ทกมล กมลรัตน์, วัณทนา ศิริธาธิวัฒน์, ปรีดา อารยาวิชานนท์, อรวรรณ แซ่ตั๋น. การเปรียบเทียบผลของของความร้อนระหว่างแผ่นประคบร้อนและลูกประคบสมุนไพรต่อการบรรเทาปวดและการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2552; 21: 74-82.

กฤติยา สุนทรวิริยะวงศ์, จุติพร ธรรมจารี, ดวงธิดา ขอบเหลือง, ประเสริฐ สกุลศรีประเสริฐ, มัณฑนา วงศ์ศิรินวรัตน์.ผลของระยะเวลาในการประคบด้วยความร้อนตื้นต่อความสามารถในการยืดออกของกล้ามเนื้อน่อง. สงขลานครินทร์เวชสาร 2010; 28: 295-304.

ประเวท เกษกัน, สุภาภรณ์ ศิลาเลิศเดชกุล, ฐาปนีย์ หงส์รัตนาวรกิจ. ขมิ้นชัน สมุนไพรสำหรับนักกีฬาและคนทั่วไป. ศรีนครินทร์เวชสาร 2556; 28: 390-8.

Hwang Jin-Hee, Lee Sun-Ok, Kim Yeong-Kyeong. Effects of Thermotherapy Combined with Aromatherapy on Pain, Flexibility, Sleep, and Depression in Elderly Women with Osteoarthritis. Journal of muscle and joint health 2011; 18: 192-202.

ชาคริต สัตยารมณ์, ลดาวัลย์ อุ่นประเสริฐพงศ์ นิชโรจน, นพวรรณ เปียซื่อ. ผลของการนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยและประคบสมุนไพรร่วมกับการใช้ยา ต่ออาการปวด หลังส่วนล่างและปฏิกิริยาสะท้อนความตึงตัวของกล้ามเนื้อในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2014; 25: 1-13.

Downloads

Published

2018-03-31

Issue

Section

Original Articles