Reporting Survival Analysis of Health Research Articles Published in Thai Journals

Authors

  • Doungporn Jampan
  • Siriporn Kamsa-ard
  • Supot Kamsa-ard
  • Malinee Laopaiboon

Keywords:

survival analysis, reporting, validity of results, การวิเคราะห์การอยู่รอด, การรายงาน, ความน่าเชื่อถือของผลการวิจัย

Abstract

Background and Objective: Reporting complete information would help the readers to assess the validity of research evidence. There is no evidence of evaluation of reporting survival analysis in Thai articles. This study aimed to assess the reporting of survival analysis in Thai medical and public health articles.

Methods: We conducted a systematic review to assess the reporting of survival analysis in the health articles published in Thai Journal Citation Index Center group 1 and 2. We adapted the previous tools to assess the reporting. Articles selection and assessment were independently performed by two researchers. Frequency and percentage were used to describe each item of reporting.

Results: Twenty five articles were included. In the methodology section, recruitment of observational unit was reported most frequently with 24 articles while censored observation was reported least frequent with 2 articles. Sixteen articles reported survival curved used for describing the survival outcomes. Only three articles reported number of subjects at risk at various times. Seventeen articles reported types of statistical testing and survival curves comparison. However, only one article reported number of subjects at risk at various times in each group. Eight articles reported type of regression model used. No articles reported

multicollinearity checking.

Conclusion: Reporting of eachitem in Thai health articles with using survival analysis is poor.

การรายงานการวิเคราะห์การอยู่รอดในบทความวิจัยทางสุขภาพที่ตีพิมพ์ในวารสารประเทศไทย

ดวงพร แจ่มพันธ์1, ศิริพร คำสะอาด2*, สุพจน์ คำสะอาด3, มาลินี เหล่าไพบูลย์2,

1นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2สาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

3หน่วยมะเร็ง โรงพยาบาลศรีนครินทร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

*ผู้รับผิดชอบบทความ

หลักการและวัตถุประสงค์: การรายงานข้อมูลที่ครบถ้วนช่วยให้ผู้อ่านประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานการวิจัย ประเทศไทยยังไม่มีหลักฐานประเมินบทความวิจัยกรณีวิเคราะห์การอยู่รอด การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรายงานการวิเคราะห์การอยู่รอดในบทความวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขของไทย

วิธีการศึกษา: ทบทวนเอกสารอย่างเป็นระบบเพื่อประเมินการรายงานการวิเคราะห์การอยู่รอดในบทความวิจัยทางสุขภาพที่เผยแพร่ในศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยกลุ่มที่ 1 และ2 ประเมินการรายงานด้วยเครื่องมือซึ่งประยุกต์มาจากการศึกษาที่ผ่านมา  การคัดเลือกบทความและการประเมินการรายงานโดยนักวิจัย 2 คน ดำเนินการอย่างเป็นอิสระต่อกัน ความถี่และร้อยละนำมาใช้พรรณนาการรายงานประเด็นต่าง ๆ

ผลการศึกษา: บทความวิจัยจำนวน 25 บทความ  ผ่านเกณฑ์คัดเข้า ในส่วนของระเบียบวิธีวิจัยมีการรายงานข้อมูลการคัดหน่วยสังเกตเข้าการศึกษามากที่สุด 24 บทความ มีการรายงานน้อยที่สุดในค่าสังเกตที่ไม่ทราบระยะการอยู่รอดที่แท้จริง 2 บทความ มีการนำเสนอโค้งการอยู่รอดเพื่อพรรณนาข้อมูลการอยู่รอดมากที่สุด 16 บทความ จำนวนเสี่ยงแต่ละช่วงเวลารายงานน้อยที่สุด 3 บทความ รายงานสถิติที่ใช้ทดสอบและโค้งการอยู่รอดในการเปรียบเทียบมากที่สุด 17บทความ  จำนวนเสี่ยงแต่ละช่วงเวลาของแต่ละกลุ่มรายงานน้อยที่สุด 1 บทความ รายงานตัวแบบการถดถอยที่ใช้มากที่สุด 8 บทความ ไม่มีบทความใดรายงานการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้น

สรุป: การรายงานแต่ละประเด็นการวิเคราะห์การอยู่รอดในบทความวิจัยทางสุขภาพของไทยอยู่ในระดับน้อย

References

จรณิต แก้วกังวาน, ประตาป สิงหศิวานนท์.ตำราการวิจัยทางคลินิก. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, 2554.

Abraira V, Muriel A, EmparanzaI, Pijoan I, Royuela A, Plana N, Zamora J. Reporting quality of survival analyses in medical journals still needs improvement. A minimal requirements proposal. J Clin Epidemiol 2013; 66: 1340–6.

US National Library of Medicine, National Institutes of Health. Search[online] 2017 [cited Apr 14, 2017]. Available from : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed

Elsevier. Search in [online] 2016 [cited Feb 2, 2016]. Available from: https://www.scopus.com

Altman DG, Stavola De, Love SB, Stepniewska KA. Review of survival analyses published in cancer journals. Br J Cancer1995; 72: 511-8.

Chai‐AdisaksophaC, Iorio A, Hillis C, Lim W, Crowther M. A systematic review of using and reporting survival analyses in acute lymphoblastic leukemia literature. BMC Hematology [serial on the Internet]. 2016 [cited Feb 20, 2017];16(1) [about 8p.] Available from:https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4898350/

บัณฑิต ถิ่นคำรพ. แนวปฏิบัติสำหรับการวิเคราะห์ระยะปลอดเหตุการณ์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2544.

Layton DM, Clarke M. Oral Rehabilitation Quality of reporting of dental survival analyses. J Oral Rehabil 2014; 41: 928-40.

LU Bin, ZHOU Xiao-bin, ZHANG Ying-ying. Reporting quality assessment of survival analyses in studies published in Chinese oncology journals. Chinese Journal of Evidence-Based Medicine 2015; 15: 1098–102.

ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย. รายชื่อวารสารในฐานข้อมูล TCI [ออนไลน์] 2559.[อ้างเมื่อ 15 กันยายน 2559]. จาก http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/index.html

Kleinbaum DG, KleinM. Survival analysis : a self-learning text. 3rd ed. New York: Springer, 2012.

Ranganathan P, Pramesh CS. Censoring in survival analysis: Potential for bias. Perspect Clin Res [serial on the Internet].2012 Jan-Mar; 3(1)[about 1p.]. [cited Aug 28, 2017]. Available from : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3275994/

Vatcheva KP, Lee M, McCormick JB, Rahbar MH. Multicollinearity in Regression Analyses Conducted in Epidemiologic Studies. Epidemiology (Sunnyvale) [serial on the Internet]. 2016 Apr; 6(2) [about 20p.] [cited Feb 20, 2017]. Available from : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/27274911

Downloads

Published

2018-03-31

Issue

Section

Original Articles