The Proportion of the Physicians in a Hospital towards the Knowledge about the Tort Liability of State Officer Act B.E. 2539
Keywords:
Physicians, Hospital, Knowledge, the Tort Liability of State Officer Act B.E. 2539, แพทย์, โรงพยาบาล, ความรู้ พ.ร.บ., ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539Abstract
Background and Objectives: Nowadays, the number of medical malpractice law suits has increased and affected the quality of work. It is necessary to have basic medico-legal knowledge in physicians. This study therefore aimed to examine the proportion of the physicians who have sufficient knowledge about the Tort Liability of State Officer Act B.E.2539, its associated factors and suggestions for improvement in medico-legal knowledge of physicians in the future
Methods: A descriptive study was conducted. The study population was 610 physicians in a hospital, which was sampled to 274 using systematic sampling method. A self-administered questionnaire was utilized. SPSS version 19.0 was used to analyze proportion, 95% CI, median, interquatile range, Chi-Square and Odds ratio.
Results: The response rate was 66.1%(181/274). The proportion of the physicians having sufficient knowledge about the Tort Liability of State Officer Act B.E.2539 was 0.48 (84/175) (95% CI: 0.40, 0.56) of the physicians having sufficient knowledge about the Tort Liability of State Officer Act B.E.2539. The three most legal issues which the physicians had the highest knowledge scores were the tort occurring in their clinic where the sufferer could not sue the state office (66.1%) and the physicians have to compensate for damages in case they had done intentionally (64.8%) or seriously carelessly (64.6%). The factor associated to physicians’ knowledge was their working period. Most physicians agree with publishing hand book about medico-legal knowledge.
Conclusions: Almost half of the physicians in the hospital have sufficient knowledge about the Tort Liability of State Officer Act B.E.2539. The factor that may associated with the medico-legal knowledge is duration of their work.
สัดส่วนแพทย์ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งที่มีความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
ดลยา ศรีขจรเกียรติ1, ธนศักดิ์ ประเสริฐ1, ธัญญาเรศ พัฒนธัญญา1, ปภาวรินท์ อุดมพันธ์1, พุทธพร สุรฉัตร1, ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์2, วิรุจน์ คุณกิตติ3,มานพ คณะโต2
1นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5
2ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3ภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หลักการและวัตถุประสงค์: ปัจจุบันสถิติการฟ้องร้องแพทย์สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อคุณภาพการทำงานของแพทย์ จึงจำเป็นที่แพทย์ควรมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทางการแพทย์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัดส่วนแพทย์ที่มีความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 (พ.ร.บ.) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและคำแนะนำเพื่อเพิ่มความรู้ด้านกฎหมายในกลุ่มแพทย์
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาในแพทย์โรงพยาบาลแห่งหนึ่งจำนวน 610 ราย สุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ ได้ 274 ราย เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามชนิดตอบเอง และวิเคราะห์สถิติด้วย SPSS version 19.0 เพื่อหาสัดส่วน ช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 ค่ามัธยฐาน พิสัยควอไทล์ Chi-Square และ Odds ratio
ผลการศึกษา: อัตราตอบกลับร้อยละ 66.1 (181/274) พบว่า แพทย์มีสัดส่วนของความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. คิดเป็น 0.48 (84/175) (95% CI: 0.40, 0.56) ประเด็นที่แพทย์มีความรู้มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กรณีแพทย์ปฏิบัติละเมิดที่คลินิกส่วนตัวผู้เสียหายไม่สามารถฟ้องร้องหน่วยงานรัฐได้ (ร้อยละ 66.1) และกรณีที่หน่วยงานราชการต้นสังกัดสามารถเรียกให้แพทย์ชดใช้ค่าสินไหมได้ คือ เมื่อละเมิดโดยจงใจกระทำ (ร้อยละ 64.8) และประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (ร้อยละ 64.6) ปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้องกับความรู้ด้าน พ.ร.บ. คือ อายุการทำงานและแพทย์ส่วนใหญ่มีความเห็นให้ทำคู่มือกฎหมายที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์
สรุป: แพทย์เกือบกึ่งหนึ่งในโรงพยาบาลที่ศึกษามีความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. ปัจจัยที่อาจมีความเกี่ยวข้องกับความรู้ด้าน พ.ร.บ. คือ อายุการทำงานและควรจัดทำคู่มือกฎหมายทางการแพทย์ให้สำหรับแพทย์ต่อไป
References
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2558. สถิติคดีทางการแพทย์ตั้งแต่ พ.ศ.2535-2558. (ออนไลน์). [สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2559]. แหล่งที่มา : http://www.legal.moph.go.th/index.php.
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539. ราชกิจจานุเบกษา, 113 (ตอนที่ 60 ก), 25, 2539.
แพทยสภา. 2555. เกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประเมินเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2555. (ออนไลน์). [สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2559] แหล่งที่มา: http://www.tmc.or.th/file_08062012.pdf. 20 ตุลาคม 2559.