The Relationships between Knowledge about Overweight During Pregnancy, Perceived Self-Efficacy and Health Behaviors among Pregnant Women with Overweight

Authors

  • Napaporn Gettong
  • Nilubon Rujiraprasert

Keywords:

Overweight during pregnancy, knowledge about overweight during pregnancy, health behavior, Perceived self-efficacy, ภาวะน้ำหนักเกินขณะตั้งครรภ์, ความรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกิน, พฤติกรรมสุขภาพ, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน

Abstract

Background and Objectives: The prevalence of overweight in pregnancy is currently rising. Maternal overweight is associated with increased risk of maternal and infant morbidity and mortality. Prenatal care should focus on healthy behaviors practice for optimal weight gain during pregnancy. This study aimed to determine the relationship between knowledge about overweight during pregnancy,perceived self-efficacy and health behaviors among pregnant women with overweight.

Methods: This was a descriptive study was calculated the sample size by comparing the power analysis of 85 overweight pregnant women (BMI ≥ 25 kg/m2) who attended antenatal care clinic at Phrachomklao hospital, Phetchaburi province and Hua-Hin hospital, Prachuapkhirikhan province. Data were collected by using questionnaires including demographic data, knowledge about overweight during pregnancy, perceived self-efficacy, and health behavior practices. The reliability coefficients of the questionnaires was ranged from 0.82-0.86, and were analyzed by using Pearson's Product-Moment Correlational Coefficients statistics.

Results: The samples were 18-42 year olds, who got pregnant 2 times or more. Most of them were housekeeper and completed secondary school or higher education. The average of the income9,000 baht/month, they have not get complications during the pregnancy.  The findings indicated that there was a significant positive correlation between “knowledge about overweight during pregnancy”, “perceived self-efficacy” and “overall health behavior: nutritional behaviors and physical activities” among pregnant women with overweight. (p< 0.05 and p< 0.01, respectively).

Conclusion: Knowledge about overweight in pregnancy and perceived self-efficacy are important for health behaviors practice to control weight gain during pregnancy.

ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกินขณะตั้งครรภ์และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนกับการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน

นภาภรณ์ เกตุทอง1, นิลุบล รุจิรประเสริฐ2

1 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

2 ศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยด้านเพศภาวะและสุขภาพสตรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หลักการและวัตถุประสงค์: ความชุกของภาวะน้ำหนักเกินขณะตั้งครรภ์มีการเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ภาวะน้ำหนักเกินขณะตั้งครรภ์สัมพันธ์กับการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงให้เกิดการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของมารดาและทารก การดูแลขณะตั้งครรภ์ต้องเน้นการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อการเพิ่มของน้ำหนักที่เหมาะสมในขณะตั้งครรภ์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกินขณะตั้งครรภ์ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตน กับการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน

วิธีการศึกษา:  เป็นการศึกษาเชิงบรรยาย คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยการเปรียบเทียบตารางวิเคราะห์อำนาจการทดสอบในหญิงตั้งครรภ์ที่มีค่าดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ ≥25 กก./ม2 ซึ่งมาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 85 ราย เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกินขณะตั้งครรภ์ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่มีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.82-0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างอายุ 18-42 ปี เป็นการตั้งครรภ์ 2 ครั้งขึ้นไป อาชีพแม่บ้าน จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปรายได้ >9,000บาท/เดือน ไม่มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ การศึกษาพบว่าความรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกินขณะตั้งครรภ์ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพโดยรวม ด้านการบริโภคและด้านกิจกรรมทางกายของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05 และ p< 0.01 ตามลำดับ)

สรุป: ความรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกินขณะตั้งครรภ์ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีส่วนสำคัญต่อการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์เพื่อการควบคุมน้ำหนักตัวในระยะตั้งครรภ์

References

Institute of Medicine [IOM]. Weight Gain During Pregnancy: Reexamining the Guidelines: Report Brief MAY 2009. [serial online] 2009 [cited 2015 Nov. 10]. Available from: http://www.nationalacademies.org.

ShaikhH, Robinson S, Teoh TG. Management of maternal obesity prior to and during pregnancy. Seminars in Fetal and Neonatal Medicine 2010; 2: 77-82.

แผนกฝากครรภ์โรงพยาบาลศรีนครินทร์. ทะเบียนฝากครรภ์. ขอนแก่น: โรงพยาบาลศรีนครินทร์; 2558

ห้องคลอด โรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี. ทะเบียนการคลอด. เพชรบุรี: โรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี; 2558.

GaillardR, DurmuşB, Hofman A, Mackenbach JP, Steegers EA, JaddoeVW. Risk factors and outcomes of maternal obesity and excessive weight gain during pregnancy. Obesity 2013; 5: 1046-55.

Ovesen P, Rasmussen S, Kesmodel U. Effect of Prepregnancy Maternal Overweight and Obesity on Pregnancy Outcome. American College of Obstetricians and Gynecologists 2011; 2: 305-12.

Ruager-Martin R, Hyde MJ, ModiN. Maternal obesity and infant outcomes. Early Human Development 2010; 11: 715-722.

จิราพร วรแสน. โรคอ้วน. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2549; 1: 315-29.

Buschur E, Kim C. Guidelines and interventions for obesity during pregnancy. Intl J Gynecol Obstet 2012; 1: 6-10.

National Institute for Health and Clinical Excellence. Dietary interventions and physical activity interventions for weight management before, during and after pregnancy.[serial online] 2010 July [cited Nov 10, 2015].Available from: http://www.nice.org.uk/nicemedia/live/13056/49926/49926.pdf.

ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง. แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการจัดการภาวะน้ำหนักเกินในสตรีตั้งครรภ์.ใน:ศิริอร สินธุ, บรรณาธิการ. แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการจัดการภาวะน้ำหนักเกิน. พิมพ์ครั้งที่ 1.ม.ป.ท.:วัฒนาการพิมพ์, 2558: 1-19.

สตรีรัตน์ ธาดากานต์, ทัศนีย์ พฤกษาชีวะ, อดิเทพ เชาว์วิศิษฐ์. การรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองและของทารกในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วนร่วมกับเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง. Rama Nurs J 2553; 2: 185-99.

Bandura A. Self-efficacy: Toward a Unifying Theory of Behavioral Change. Psycholl Rev 1977; 2: 191-215.

Bandura A. Social foundations of thought and action: a social cognitive theory. Englewood Cliffs, N.J: Prentice-Hall, 1986.

Polit DF. Statistics and data analysis for nursing research 2nd Edition. Boston: Pearson, 2010.

บุญลาภ ทิพย์จันทร์, วันเพ็ญ แก้วปาน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 2555; 1: 41-60.

ประกาย จิโรจน์กุล. แนวคิด ทฤษฎีการสร้างเสริมสุขภาพและการนำมาใช้.นนทบุรี: โครงการสวัสดิการ สถาบันพระบรมราชชนก, 2556.

รวิชา หงส์โรจนภาคย์, สุจิตรา เทียนสวัสดิ์, อำไพ จารุวัชรพาณิชกุล.การรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการปฏิบัติเพื่อควบคุมภาวะน้ำหนักเกินในสตรีวัยกลางคน. พยาบาลสาร 2546; 2: 41-56.

ไพโรจน์ พัวพันธุ์, เพลินจิตร คันถรจนาจารย์. ความสัมพันธ์ของการรับรู้สมรรถนะแห่งตนกับการปฏิบัติเพื่อควบคุมภาวะน้ำหนักตัวเกินในหญิงวัยกลางคนอำเภอบ้านดุงจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2550; 2: 1171-83.

Downloads

Published

2018-03-31

Issue

Section

Original Articles