Factors related to Safety Working Behavior among the Farmers in Tha Muang District, Kanchanaburi Province

Authors

  • Goontalee Bangkadanara
  • Chatchai Thanachoksawang
  • Akaphol Kaladee

Keywords:

safety working behavior, Occupational Health, Farmers in Tha Muang District, พฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัย, อาชีวอนามัย, เกษตรกร

Abstract

Background and Objective: Nowadays, most of farmers use technology to gain more products by using motorized equipments, pesticides, fertilizers, and genetic engineering. By this way they have high risk to expose to many hazards from these technology as well as work with unsafe working behavior by getting injuries or occupational diseases. Safety working behavior is a key factor which could be prevent the accidents at work. Therefore, the aim of this study was to determine the factors related to safety working behaviors of the farmers in Tha Muang District, Kanchanaburi Province.

Methods: Two Hundred and fifty farmers in Tha Muang District, Kanchanaburi Province were selected by Multi-stage sampling method. All participants volunteered to participate in this study and signed the informed consent form.  The questionnaires comprised of demographic data, working behavior, and the recognition and the perception on physical, chemical, biological, and ergonomic hazards in working conditions. All data were analyzed by Descriptive Statistics, Chi – square, Pearson’s Correlation Coefficient and Multiple Logistic Regression analysis.

Results: The study found that drinking alcohol significantly related to safety working behavior at p=0.035, and the farmers who did not drink alcohol had a better safety working behavior than the farmers who drank alcohol at 1.98 times (95%CI =1.05-3.72). Types of employment significantly related to safety working behavior at p=0.041 and farmers who were the employee had a better safety working behavior more than farmers who were the employers at 2.26 times (95%CI = 1.03-4.93). Moreover, the getting accident from work significantly related to safety working behavior at p=0.042 and farmers who never  gotten an accident had a better safe working behavior more than farmers who had ever got an accident at 1.92 times (95%CI = 1.02-3.70).

Conclusion: Drinking alcohol, type of employment, and had ever got an accident have significantly related to safety working behavior. Other factors did not affect to safety working behavior in this farmer group. However, the occupational health care should be promoted to farmers to understand their risk and to recognize on safety. 

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของเกษตรกร อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

กุณฑลีย์ บังคะดานรา1*, ชัชชัย ธนโชคสว่าง2, เอกพล กาละดี1

1สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

2ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันเกษตรกรมีการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตรเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันเกษตรกรมีความเสี่ยงในการสัมผัสอันตรายจากการทำงานด้านต่างๆจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี นอกจากนี้พฤติกรรมการทำงานอาจส่งผลทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเป็นโรคจากการประกอบอาชีพได้มีพฤติกรรมเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของเกษตรกร อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

วิธีการศึกษา:  ผู้วิจัยเก็บข้อมูลในกลุ่มเกษตรกร อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวนทั้งหมด 250 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่สมัครใจเข้าร่วมการศึกษา โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมการทำงานของเกษตรกร การตระหนักถึงอันตรายจากการทำงานด้านกายภาพ สารเคมี ชีวภาพและการยศาสตร์ และการรับรู้ถึงอันตรายในการทำงานด้านกายภาพ สารเคมี ชีวภาพและการยศาสตร์ข้อมูลที่ได้วิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนาทดสอบไคสแควร์ทดสอบสหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษา: จากการศึกษาซึ่งได้รับแบบสอบถามตอบกลับมาจํานวน 250 ฉบับ พบว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.035) โดยผู้ที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์จะมีพฤติกรรมที่ดีเป็น 1.98 เท่า (95%CI เท่ากับ 1.05-3.72) ของผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์  ส่วนปัจจัยสถานะของการประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.041) โดยผู้ที่เป็นลูกจ้างพฤติกรรมดีเป็น 2.26 เท่า (95%CI เท่ากับ 1.03-4.93) ของผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการ และปัจจัยการได้รับอันตรายจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.042) โดยผู้ไม่เคยได้รับอันตรายจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีพฤติกรรมที่ดีเป็น 1.92 เท่า (95%CI เท่ากับ 1.02-3.70) ของผู้ที่เคยได้รับอันตรายจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

สรุป:ปัจจัยการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ สถานะของการประกอบอาชีพเกษตรกรรม และการได้รับอันตรายจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของเกษตรกร ส่วนปัจจัยอื่นๆไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของเกษตรกร อย่างไรก็ตามควรมีการส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน


References

กลุ่มสถิติแรงงาน.การสำรวจแรงงานนอกระบบ.สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร,2557.

วิวัฒน์ ไม้แก่นสาร และ มลฤดี หมุนขำ. การเปลี่ยนแปลงของภาคธุรกิจเกษตรภายใต้บริบทของโลก

ในอนาคต. วารสารปัญญาภิวัฒน์ 2557; 5: 244-55.

Sesto M. Chronic Musculoskeletal Disorders in Agricultural workers. In: Rosenstock L, Cullen MR, Brodkin CA; Redlich CA,editors. Textbook of Clinical Occupational and Environmental Medicine, 2nd ed. Saunders, Philadelphia, 2000.

Arphorn S, Brooks R, Permsirivanich P, Chainat: A Case Study in Occupational Health and Safety Promotion for Farmers. Industrial Health 2006; 44: 98-100.

ยุพา ถาวรพิทักษ์, กิ่งแก้ว เกษโกวิท, วิทัศน์ จันทร์โพธิ์, ประเสริฐ ถาวรสถิตย์. การรับรู้อันตรายและการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันอันตรายจากสารยาฆ่าแมลงในดอกมะลิและดอกพุดของชาวบ้านตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2550; 25: 317-22.

สำนักงานสถิติจังหวัดกาญจนบุรี.รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี. [ค้นหาเมื่อ 29 กรกฎาคม 2560] จาก http://osthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file.

สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี. โครงการปฏิบัติงานเพื่อส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ครั้งที่ 1สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี. [ค้นหาเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2560] จากhttp://www.kanchanaburi.doae.go.th/page/clinic.html.

Wayne WD. Biostatistics: A Foundation of Analysis in the Health Science 6th ed. John Wiley & Sons, Inc., 1995:180.

สำรอง ยันตพันธ์. ผลการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรปลูกแตงกวา อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2546.

Becker MH. The health belief model and sick-role behavior. In Becker MH, editors.The health belief model and personal health behavior, New Jersey; 1974: 82-92.

ชัชยาคมน์ สุพิทยพันธุ์. ความสัมพันธ์ของการรับรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยกับการดูแลสุขภาพตนเองของเกษตรกรสวนยางพารา: มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2553.

Bloom , Benjamin S. Handbook on Formative and Summative Evaluation ofStudent Learning, New York : McGraw-Hill; 1971.

ชมนาด พจนามาตร์, สายพิณ เกษมกิจวัฒนา, เกศมณี มูลปานันท์, จิตราภรณ์ สุทธิพงษ์, พิมพ์รัตน์ บุณยะภักดิ์, วรินทร เวียงโอสถ. วิถีชีวิต พฤติกรรมและผลกระทบทางสุขภาพจากการดื่มสุราในแรงงานภาคเกษตรกรรม: กรณีศึกษา ตําบลแม่คํา อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย.วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา 2553; 8: 319-33.

ประถาปานิตย์ รัตนตรัยวงค์. พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในหมู่บ้านแก่นทราย หมู่ 14 ตำบลรอบเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.

Hwang SA, Gomez MI, Stark AD, St John TL, Pantea CI, Hallman EM, May JJ, et al. Safety awareness among New York farmers. Am J Ind Med. 2000 ;38: 71-81.

สุเพ็ญศรี เบ้าทอง. พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่เพาะปลูกมะเขือเทศ บ้านลาดนาเพียง ตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.

ดลนภา ไชยสมบัติ, จรรยา แก้วใจบุญ, อัมพร ยานะ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร: กรณีศึกษาเกษตรใน ต.สันป่าม่วง อ.เมือง จ.พะเยา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 4: 305-16.

นภมณ ยารวง, พัชรพร สุคนธสรรพ์. พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานและภาวะสุขภาพของเกษตรกรชาวนาในจังหวัดเชียงราย. วารสารพยาบาลทหารบก 2559; 17: 163-74.

Downloads

Published

2018-03-31

Issue

Section

Original Articles