Satisfaction with Anesthesia Service of Ward Nurses at Srinagarind Hospital, Khon Kaen Province
Keywords:
Satisfaction, ward nurse, anesthesia, quality improvement, ความพึงพอใจ, พยาบาลหอผู้ป่วย, งานวิสัญญี, การพัฒนางานAbstract
Background and objective: Customer satisfaction is an indicator for quality assurance of department of Anesthesiology, Srinagarind hospital. Ward nurses are internal customers of whom satisfaction has not been assessed for long time. The objective of this study was to assess satisfaction of ward nurses regarding anesthetic service during perioperative period. We also identified the subjects that need continuous quality improvement.
Methods: This was a prospective, descriptive study performed during May and July 2016. Inclusion criterion were ward nurses whose job were related to anesthesia personnel for at least 1 year. The exclusion criterion were visiting ward nurses from other hospitals. We distributed questionnaire, 10 per ward, to 45 wards (total 450 questionnaires). The questionnaire comprised 2 parts; part 1 covered demographic data, while part 2 contained levels of satisfaction with score 1 to 4, as well as open-ended comments on subjects that needed improvement. The questionnaire was validated by 3 senior anesthesiologists and distributed by informed research assistance and was collected 2 weeks later. The data was analyzed for number, percentage, mean and standard deviation using SPSS 16 program.
Results: We received 390 responses. The satisfaction scores for preoperative, immediate postoperative /post-anesthetic care unit (PACU), and postoperative service were all high (2.95 ± 0.75 to 3.28 ± 0.57, 3.06 ± 0.60 to 3.12 ± 0.56, and 3.28 ± 0.55 to 3.28 ± 0.62, respectively). The overall highly satisfied subjects were personality and dressing of anesthesia personnel. The subjects that need improvement were introduction of anesthesia personnel to patients and ward staff, and forwarding plan of patient treatment to ward nurses by phone as well as by document.
Conclusion: The satisfaction scores of ward nurses for anesthesia service in every step were high. The overall highly satisfied subjects were personality and dressing of anesthesia personnel. The subjects that need improvement were introduction of anesthesia personnel to patients and ward staff, and forwarding plan of patient treatment to ward nurses by phone as well as by document.
ความพึงพอใจของพยาบาลหอผู้ป่วยที่มีต่องานวิสัญญีในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น
สุภัตตรา ประสงค์ดี, สิริรัตน์ ตรีพุทธรัตน์, เทพกร สาธิตการมณี, นรินทร์ พลายละหาร,
ทิพยวรรณ มุกนำพร, มณีรัตน์ ธนานันต์
ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หลักการและวัตถุประสงค์: ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดงานคุณภาพของภาควิชาวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลศรีนครินทร์ พยาบาลหอผู้ป่วยถือเป็นส่วนหนึ่งของผู้ใช้บริการซึ่งหน่วยงานไม่ได้ทำการศึกษาความพึงพอใจมานานแล้ว คณะผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลหอผู้ป่วยที่มีต่องานวิสัญญี และหาปัจจัยที่ต้องการการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาไปข้างหน้าเชิงพรรณนา ดำเนินการระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 เกณฑ์การคัดเข้าของกลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลหอผู้ป่วยที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับงานวิสัญญีในช่วงไม่น้อยกว่า 1 ปี เกณฑ์การคัดออก คือ พยาบาลบาลหอผู้ป่วยที่มาฝึกอบรมจากสถาบันอื่น ส่งแบบสอบถามทั้งหมด 45 หอผู้ป่วย หอผู้ป่วยละ 10 ชุด (รวม 450 ชุด) แบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน และตอนที่ 2 ระดับความพึงพอใจของพยาบาลหอผู้ป่วยที่มีต่องานวิสัญญีรวมถึงคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคที่พบในงานวิสัญญี แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาจากวิสัญญีแพทย์ 3 ท่าน ดำเนินการแจกแบบสอบถามโดยผู้ช่วยวิจัยที่ได้รับการอบรมเรื่องวิธีการเก็บข้อมูลที่ถูกต้องจากคณะวิจัย เก็บแบบสอบถามกลับคืนภายหลังแจก 2 สัปดาห์ และตรวจสอบข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนเก็บแบบสอบถาม แบบสอบถามระดับความพึงพอใจมีค่าคะแนน 1 ถึง 4 และนำมาวิเคราะห์ค่าสถิติเป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS 16
ผลการศึกษา: ได้รับแบบสอบถามกลับคืน 390 ชุด พบความพึงพอใจของพยาบาลหอผู้ป่วยต่องานบริการวิสัญญีในทุกระยะตั้ง แต่ระยะก่อนผ่าตัด ระยะหลังผ่าตัดทันที/ที่เกี่ยวเนื่องกับห้องพักฟื้น และระยะหลังผ่าตัด เฉลี่ยอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (2.95 ± 0.75 ถึง 3.28 ± 0.57; 3.06 ± 0.60 ถึง 3.12 ± 0.56; และ 3.28 ± 0.55 ถึง 3.28 ± 0.62 ตามลำดับ) พบว่าพยาบาลหอผู้ป่วยมีความพึงพอใจทั้งระยะก่อนและหลังผ่าตัดมากที่สุดคือ ในเรื่องของบุคลิกภาพและการแต่งกายของทีมวิสัญญี (ร้อยละ 94.3 และ 90.3 ตามลำดับ) หัวข้อที่ควรปรับปรุงได้แก่ การแนะนำตัวของทีมวิสัญญีกับผู้ป่วยและบุคลากร และการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่หอผู้ป่วยทั้งโดยการใช้โทรศัพท์และการใช้แบบฟอร์ม
สรุป: พยาบาลหอผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อบริการทางวิสัญญีในทุกระยะตั้งแต่ระยะก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัดทันที/ที่เกี่ยวเนื่องกับห้องพักฟื้น และระยะหลังผ่าตัดเฉลี่ยอยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีความพึงพอใจมากที่สุดในเรื่องบุคลิกภาพและการแต่งกายของทีมวิสัญญี ส่วนโอกาสพัฒนาได้แก่ การแนะนำตัวของทีมวิสัญญีกับผู้ป่วยและบุคลากร และเรื่องการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่หอผู้ป่วยทั้งโดยการใช้โทรศัพท์และการใช้แบบฟอร์ม
References
อนุวัติ ศุภชุติกุล. เส้นทางสู่โรงพยาบาลคุณภาพคู่มือและการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล; 2543.
ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาล. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [cited Oct 1, 2016 ]. Available from: http://www.nursing.go.th/?page_id=2489.
โครงการสำรวจความพึงพอใจผู้รับบริการสัญญี. กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพงานระหว่างผ่าตัด ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2558.
สงวนศรี บำรุงราชหิรัณย์. บทบาทวิสัญญีพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลทั่วไปเขต 6 กระทรวงสาธารณสุข.รายงานการศึกษาอิสระ. ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2543: 22-35.
ลำใย แสบงบาล, วราภรณ์ เชื้ออินทร์, กฤษณา สำเร็จ, วิริยา ถิ่นชีลอง, พิกุล มะลาไสย์. ความพึงพอใจต่อการบริการด้านวิสัญญีของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2549; 21: 45-50.
จริยา เลิศอรรฆยมณี, ประดิษฐ สมประกิจ, อุบลรัตน์ สันตวัตร. งานวิจัยทางคลินิก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไพศาลศิลป์การพิมพ์; 2543.
บุญชม ศรีสะอาด. การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า. หน้า 1-7. [cited Oct 15, 2016 ]. Available from: http://www.watpon.com/boonchom/trans.pdf.
บุญชม ศรีสะอาด, บุญส่ง นิลแก้ว. "การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง" วารสารการวัดผลการศึกษา มศว มหาสารคาม 2535; 3: 22-5. [cited Oct 15, 2016]. Available from: https://edu.msu.ac.th/jem/home/journal_file/23.pdf.
Le May S, Dupuis G, Harel F, Taillefer MC, Dube S, Hardy JF. Clinimetric scale to measure surgeons' satisfaction with anesthesia services. Can J Anaesth 2000; 47: 398-405.
Oldman M, McCartney CJ, Leung A, Rawson R, Perlas A, Gadsden J, et al. A survey of orthopedic surgeons' attitudes and knowledge regarding regional anesthesia. Anesth Analg 2004; 98: 1486-90.