Satisfaction with Anesthesia Services of Surgeon at Srinagarind Hospital, Khon Kaen Province

Authors

  • Yuthida Chaikree
  • Sirirat Tribuddharat
  • Thepakorn Sathitkarnmanee
  • Chakthip Suttinarakorn
  • Apinya Unchulee
  • Maneerat Thananun

Keywords:

Satisfaction, surgeon, anesthesia services, quality improvement, ความพึงพอใจ, แพทย์ผ่าตัด, งานวิสัญญี, การพัฒนางาน

Abstract

ความพึงพอใจของแพทย์ผ่าตัดที่มีต่องานวิสัญญี ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น

ยุธิดา ชัยกรี, สิริรัตน์ ตรีพุทธรัตน์, เทพกร สาธิตการมณี, จักรทิพย์ สุทธินรากร, อภิญญา อัญชุลี, มณีรัตน์ ธนานันต์

ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หลักการและวัตถุประสงค์: แพทย์ผ่าตัดเป็นผู้รับบริการภายใน (internal customer) ของภาควิชาวิสัญญีวิทยาที่ต้องให้ความสำคัญ และทำให้เกิดความพึงพอใจ ซึ่งจะนำมาสู่การพัฒนาคุณภาพงานร่วมกันเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจ ปัญหาและความต้องการของแพทย์ผ่าตัดเกี่ยวกับงานวิสัญญี

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาไปข้างหน้าเชิงพรรณนา ดำเนินการระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2559 เกณฑ์การคัดเข้าของกลุ่มตัวอย่าง คือ แพทย์ผ่าตัดทั้งอาจารย์แพทย์ แพทย์ใช้ทุนและแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 1-4 ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์  โดยส่งแบบสอบถามทั้งหมด 110 ชุด แบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1  ข้อมูลพื้นฐาน และตอนที่ 2 ระดับความพึงพอใจของแพทย์ผ่าตัดที่มีต่องานวิสัญญีรวมถึงคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคที่พบในงานวิสัญญี แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความแม่นตรงของเนื้อหาจากวิสัญญีแพทย์อาวุโส 2 ท่าน โดยมีค่าคะแนน 1 ถึง 4 และนำมาวิเคราะห์ค่าสถิติเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS 16

ผลการศึกษา: ได้รับแบบสอบถามคืน 102 ชุด ความพึงพอใจของแพทย์ผ่าตัดที่มีต่องานวิสัญญีในระยะก่อนผ่าตัด พบว่าบุคลากรวิสัญญีให้บริการตรวจเยี่ยมและเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดที่เป็นไปตามมาตรฐาน ที่ระดับ 3.63 ± 0.49 ถึง 3.72 ± 0.47 และพบว่าความพึงพอใจต่ำสุดในระบบการประสานงานกับแพทย์ผ่าตัดและ การติดต่อเพื่อนัดผ่าตัดผู้ป่วยเพิ่มภายหลังเวลา 16.00 น.โดยการโทรศัพท์ถึงแพทย์เจ้าของห้องภายในเวลา 19.00 น. ที่ระดับ 3.33 ± 0.66  ถึง 3.35 ± 0.70 ระยะระหว่างผ่าตัดแพทย์ผ่าตัดมีความพึงพอใจในความรู้ความสามารถการให้บริการได้ถูกต้องเหมาะสม ที่ระดับ 3.78 ± 0.42 และพบว่าความพึงพอใจต่ำสุดคือความเหมาะสมในการตัดสินใจงดให้บริการผู้ป่วยตามตารางนัดผ่าตัดที่ระดับ 3.60 ± 0.60 ความราบรื่นและรวดเร็วที่ระดับ 3.59 ± 0.61  ในห้องพักฟื้นพบว่าความพึงพอใจในการรายงานอาการผิดปกติของผู้ป่วยมากที่สุดคือ 3.72 ± 0.45 และระยะหลังผ่าตัดที่หอผู้ป่วยพบว่ามีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดคือ การตรวจเยี่ยมผู้ป่วยภายหลังจากใช้บริการวิสัญญีภายใน 24 ชั่วโมง และตรวจเยี่ยมต่อเนื่อง 72 ชั่วโมง ในรายที่มีปัญหาทางวิสัญญี ที่ระดับ 3.71 ±  0.46 และการดูแลความปวดระยะหลังผ่าตัดที่หอผู้ป่วย ที่ระดับ 3.66 ± 0.52

สรุป: ความพึงพอใจของแพทย์ผ่าตัดต่อบริการวิสัญญีในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ในระยะก่อน ระหว่างและหลังผ่าตัด พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาระบบการประสานงานและติดต่อเพื่อนัดผ่าตัดผู้ป่วยเพิ่มภายหลังเวลา 16.00 น. ปรับปรุงแนวทางต่างๆให้เหมาะสมในการงดให้บริการผู้ป่วยตามตารางนัดผ่าตัดและให้เกิดความราบรื่น รวดเร็วในการให้บริการ

 

Background and Objective: Surgeons are internal customers of the department of Anesthesiology.  The satisfaction of surgeon is a key quality indicator leading to multidisciplinary quality improvement.  The objective of this study was to assess the surgeon satisfaction and identify the factor that need to be improved.

Methods: This was a prospective, descriptive study performed during May and July, 2016.  The inclusion criteria were surgical staffs and residents year I-IV at Srinagarind hospital. We distributed 110 questionnaires. The questionnaire included 2 parts; Part 1 contained demographic data, and Part 2 covered level of satisfaction with score 1 to 4, as well as open-ended comments on subjects that needed improvement. It was validated by 2 senior anesthesiologists.  The data were analyzed and presented as number (%) and mean ± SD using SPSS 16 program.

Results: We received 102 responses. The satisfaction score with standard preoperative visit and preparation service was high, from 3.63 ± 0.49 to 3.72 ± 0.47.  The score for human relationship and the case schedule setting between 4 and 7 PM including communicating with the responsible anesthesiologist were not satisfactory from 3.33 ± 0.66 to 3.35 ± 0.70.  The score for satisfaction during intraoperative period was also high (3.78 ± 0.42) regarding anesthesiologists’ competency and was low about reason for case cancellation (3.60 ± 0.60) and promptness of service (3.59 ± 0.61).  At post-anesthetic care unit (PACU), the score for the appropriate management was high (3.72 ± 0.45).  As for postoperative period, the score was high for postoperative visit (3.71 ± 0.46) and pain management (3.66 ± 0.52).

Conclusion: The overall perioperative satisfaction score of surgeon to anesthesia services in Srinagarind hospital was good and very good. The subjects that need improvement were: communication for case schedule setting between 4 and 7 PM including communicating with the responsible anesthesiologist, reason for case cancellation and promptness of service.

References

ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาล. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2559]. สืบค้นจาก http://www.nursing.go.th/?page_id=2489.

อนุวัติ ศุภชุติกุล. เส้นทางสู่โรงพยาบาลคุณภาพคู่มือและการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล; 2543.

ฤทธิชัย พุทธประสิทธิ์, เทพกร สาธิตการมณี, เดือนเพ็ญ ห่อรัตนาเรือง, จิรพงศ์ สุวรรณบุญฤทธิ์, มณีรัตน์ ธนานันต์. ความพึงพอใจของแพทย์ผ่าตัดต่อการบริการด้านวิสัญญีวิทยาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น. วิสัญญีสาร 2548; 31: 198-205.

จริยา เลิศอรรฆยมณี, ประดิษฐ สมประกิจ, อุบลรัตน์ สันตวัตร. งานวิจัยทางคลินิก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไพศาลศิลป์การพิมพ์; 2543.

บุญชม ศรีสะอาด. การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า. หน้า 1-7. [สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2559]. สืบค้นจาก http://www.watpon.com/boonchom/trans.pdf.

บุญชม ศรีสะอาด, บุญส่ง นิลแก้ว. "การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง" วารสารการวัดผลการศึกษา มศว มหาสารคาม. 2535; 3: 22-5. [สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2559]. สืบค้นจาก https://edu.msu.ac.th/jem/home/journal_file/23.pdf.

Le May S, Dupuis G, Harel F, Taillefer MC, Dube S, Hardy JF. Clinimetric scale to measure surgeons' satisfaction with anesthesia services. Can J Anaesth 2000; 47: 398-405.

วัณทนา วงค์คำจันทร์. ความพึงพอใจของแพทย์ผ่าตัดต่อการบริการด้านวิสัญญีวิทยาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2553; 1: 19-24.

วิภารัตน์ จุฑาสันติกุล, อำพรรณ จันทโรกร, ธวัช ชาญชญานนท์. ความพึงพอใจของศัลยแพทย์ต่อการให้บริการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2555; 27: 118-24.

Downloads

Published

2018-05-07

Issue

Section

Original Articles