Evaluation of Preceptor Teaching Behaviors in Pharmacy Professional Clerkship

Authors

  • Ananya Songmuang

Keywords:

Pharmacy student, Pharmacy Professional Clerkship, Pharmacy Preceptor, นักศึกษาเภสัชศาสตร์, ฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรม, เภสัชกรพี่เลี้ยง

Abstract

ผลการประเมินพฤติกรรมการสอนของเภสัชกรพี่เลี้ยงในการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรม

อนัญญา สองเมือง

กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลวารินชำราบ

หลักการและวัตถุประสงค์: เภสัชกรพี่เลี้ยงในแต่ละหน่วยฝึกมีจำนวนแตกต่างกัน พฤติกรรมการสอนนักศึกษาฝึกงานของพี่เลี้ยงจึงต่างกันด้วย การศึกษานี้จึงต้องการเปรียบเทียบคะแนนประเมินพฤติกรรมการสอนของเภสัชกรพี่เลี้ยง โดยนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ในแต่ละกลุ่มที่มีจำนวนพี่เลี้ยงต่างกัน

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบ Prospective study ในกลุ่มนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 6 ที่มาฝึกงานโรงพยาบาลวารินชำราบ ตั้งแต่ 8 พฤษภาคม 2560 ถึง 26 มกราคม 2561 แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 1, 2 และ 4-7 ราย ประเมินพฤติกรรมการสอนโดยใช้แบบประเมินประกอบด้วย 5 หมวดคำถาม ได้แก่ การปฐมนิเทศ การสื่อสารระหว่างฝึกงาน การประเมินระหว่างฝึกงาน การเป็นแบบอย่างที่ดี และการให้ความช่วยเหลือในการฝึกงาน โดยนักศึกษาสามารถให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมได้ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Chi-square และ Kruskal-Wallis H

ผลการศึกษา: แบบสอบถาม 127 ชุด จากนักศึกษาฝึกงาน 43 คน พบว่า คะแนนประเมินพฤติกรรมการสอนในกลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 1 และ 2 ราย ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ กลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 4-7 ราย ได้คะแนนน้อยที่สุดในทุกหมวดคำถาม และน้อยกว่ากลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 1 และ 2 ราย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) หมวดคำถามด้านการปฐมนิเทศ ได้คะแนนน้อยที่สุดในทุกกลุ่มเมื่อเทียบกับด้านอื่น คือร้อยละ 78.8, 71.7, และ 37.8 ตามลำดับ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากนักศึกษาฝึกงานส่วนใหญ่ คือ เรื่องภาระงานของพี่เลี้ยง และระยะเวลาในการอภิปรายกรณีศึกษาระหว่างวันที่จำกัด

สรุป: จำนวนเภสัชกรพี่เลี้ยงต่อนักศึกษาที่มากขึ้น มีผลต่อการประเมินพฤติกรรมการสอนที่ด้อยกว่าการมีพี่เลี้ยงคนเดียวหรือสองคน อย่างไรก็ตาม เภสัชกรแหล่งฝึกมีข้อจำกัดในเรื่องภาระงาน และเวลาในการอภิปรายกรณีศึกษา

 

Background and Objectives: The number of pharmacy clerkship preceptors and their teaching behaviors may be different. This study aimed to compare the evaluation of preceptor teaching behaviors by pharmacy students based on the number of preceptors working with the student.

Methods: We performed a prospective study among the 6th year pharmacy students completing a clerkship at Warinchamrab hospital from May 8, 2017 to January 26, 2018. Students assessed preceptor teaching behaviors, with three categories by number of preceptors: one, two, and 4-7 preceptors. A questionnaire was used to evaluate preceptor teaching behaviors using a 5 point Likert scale: orientation, direction and feedback, evaluation, role modeling, and facilitating behaviors. Students were also allowed to provide comments and suggestions. Chi-square and Kruskal-Wallis H were used to compare the difference between each group.

Results: Among 127 questionnaires from 43 students, the score in the one and two preceptors group were not different. Students with 4-7 preceptor provided the lowest rating in all domains. The score in the 4-7 preceptors group was significantly lower than the group with one and two preceptors (p<0.05). Among the 5 domains, the lowest rated of three groups was orientation with strongly agree 78.8%, 71.7%, and 37.8%, respectively. Concerns raised pharmacy students included the high amount of preceptor workload and time allotted for case discussions with student during the day.

Conclusion: The increase in number of pharmacy preceptor per student affects the evaluation of teaching behaviors compared to one or two preceptors. However, workload and time spending for case discussion are limitation of preceptor in pharmacy clerkship.

References

สภาเภสัชกรรม. เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ด้านการบริบาลทางเภสัชกรรม [อินเตอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pharmacycouncil.org/index.php?option= content _detail&menuid=68&itemid=456&catid=0

ผกามาศ ไมตรีมิตร, เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข, ณัฏฐิญา ค้าผล. คุณลักษณะและความสามารถที่พึงประสงค์ของเภสัชศาสตรบัณฑิต. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 2551; 3: 121-6.

วสวัต ดีมาร. “ประเทศที่นักเรียนไม่กล้าถามครูผู้สอนมากที่สุด" กับ "อันดับ ๖ ของนักเรียนไทย” [อินเตอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gotoknow.org/posts/493702.

เบญจพร ศิลารักษ์. เภสัชศาสตร์ศึกษาสำหรับเภสัชกรแหล่งฝึกปฏิบัติงานบริบาลเภสัชกรรม (เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการเภสัชศาสตร์ศึกษา 3 สถาบันภาคอีสาน โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี): การประเมินอาจารย์ผู้ฝึกสอน [อินเตอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://drive.google.com/file/d/1BwxnngaYYslkA0VwdxP7xESDs-lWZ1Vg/view

Hamilton J, Stevens G, Girdler S. Becoming a Mentor: The Impact of Training and the Experience of Mentoring University Students on the Autism Spectrum. PLoS One. 2016; 11: e0153204.

Hawkins A, Jones K, Stanton A. A mentorship programme for final-year students. Clin Teach. 2014; 11: 345-9.

Raub JN, Thurston TM, Fiorvento AD, Mynatt RP, Wilson SS. Implementation and outcomes of a pharmacy residency mentorship program. Am J Health Syst Pharm. 2015; 72: S1-5.

Smith SM. Determining Sample Size: How to Ensure You Get the Correct Sample Size [Internet]. 2013 [cited January 10, 2018]. Available from: https://www.ndsu.edu/gdc/wp-content/pdf/Determining-Sample-Size.pdf

Sonthisombat P. Pharmacy Student and Preceptor Perceptions of PreceptorTeaching Behaviors. Am J Pharm Educ 2008; 72: 110.

คณะอนุกรรมการ การฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ ภาคบังคับ ศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.) 16 สถาบัน คณะเภสัชศาสตร์. คู่มือการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาล. 2560.

Huang WY, Monteiro FM. Teaching behaviors used bycommunity-based preceptors for a family and community medicineclerkship. Fam Med. 2000; 32: 678-80.

Vos SS, Trewet CB. A Comprehensive Approach to Preceptor Development. Am J Pharm Educ 2012; 76: 47.

McClendon KS, Malinowski SS, Pitcock JJ, Brown MA, Davis CS, Sherman JJ, et al. A Multipreceptor Approach to Ambulatory Care Topic Discussions. Am J Pharm Educ 2014; 78: 77.

Young S, Vos SS, Cantrell M, Shaw R. Factors Associated With Students’ Perception of Preceptor Excellence. Am J Pharm Educ 2014; 78: 53.

Downloads

Published

2019-02-21

Issue

Section

Original Articles