The Development of Web Application for Shoulder Exercise Program in Patients after Cardiac Rhythm Management Devices Implantation

Authors

  • Benja Songsaengrit
  • Montri Yasud

Keywords:

Web Application

Abstract

การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับโปรแกรมการบริหารข้อไหล่ในผู้ป่วยภายหลังทำการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังเครื่องจัดการจังหวะการเต้นของหัวใจ

เบญจา  ทรงแสงฤทธิ์*, มนตรี  ยาสุด

ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หลักการและวัตถุประสงค์: โปรแกรมบริหารข้อไหล่ในผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดฝังเครื่องจัดการจังหวะการเต้นของหัวใจประกอบด้วย 4 ระยะ ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดข้อไหล่ติดแข็ง แต่อย่างไรก็ตามอาจเกิดความเสี่ยงในการให้คำแนะนำโปรแกรมบริหารข้อไหล่ฯ ที่ผิดพลาดจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับโปรแกรมการบริหารข้อไหล่ฯ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพัฒนาซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการพัฒนาและการประเมินผลการใช้งานเว็บแอปพลิเคชันโปรแกรมการบริหารข้อไหล่ฯ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยแพทย์และนักกายภาพบำบัดรวมจำนวน 10 ราย

ผลการศึกษา: เว็บแอปพลิเคชันสำหรับโปรแกรมการบริหารข้อไหล่ฯ สามารถแสดงผลบนเว็บเบราว์เซอร์ได้ในหลายอุปกรณ์ และสามารถให้ข้อมูลโปรแกรมบริหารข้อไหล่ฯ ได้อย่างถูกต้อง ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในด้านประสิทธิภาพ, การออกแบบ และในภาพรวมต่อการใช้งานเว็บแอปพลิเคชันในระดับมากที่สุด โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 จากคะแนนเต็ม 5.00 และไม่มีปัญหาทางเทคนิคเมื่อใช้งานรวมถึงตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี

สรุป: เว็บแอปพลิเคชันสำหรับโปรแกรมการบริหารข้อไหล่ฯ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพและให้ข้อมูลที่ถูกต้องตามโปรแกรมบริหารข้อไหล่ฯ สามารถนำมาใช้งานได้จริงและเพิ่มประสิทธิภาพแก่บุคลากรทางการแพทย์ในการให้บริการอีกด้วย

 

Background and Objectives: The shoulder exercise program in patients after cardiac rhythm management devices implantation consisted of 4 phases. It decreased the risk of frozen shoulder syndrome. However, the risk of shoulder exercise program service was error by healthcare providers. The aim of this study was the development of web application for shoulder exercise program on the internet.    

 Methods: The developmental research included the development and evaluation of web application for shoulder exercise program on the internet by 10 physicians and physical therapists.

Results: The web application for shoulder exercise program could be displayed on a web browser on multiple devices and provided correct shoulder exercise program. The user satisfaction on performance, design and overall of the web application were excellent level, an average mean score equaled 4.80 over 5.00. It was working without technical problems and responding to user need.     

Conclusions:  The web application for shoulder exercise program on the internet worked effectively and accurately provided accurate shoulder exercise program. It can be practically used and increased an efficiency of medical personnel for this service. 

References

Papadopoulos CH, Oikonomidis D, Lazaris E, Nihoyiannopoulos P. Echocardiography and Cardiac Arrhythmias. Hellenic J Cardiol 2017.

Stevenson I, Voskoboinik A. Cardiac rhythm management devices Aust J Gen Pract 2018; 47: 264-71.

Fuertes B, Toquero J, Arroyo-Espliguero R, Lozano IF. Pacemaker lead displacement: mechanisms and management. Indian Pacing Electrophysiol J 2003; 3: 231-8.

Korte T, Jung W, Schlippert U, Wolpert C, Esmailzadeh B, Fimmers R, et al. Prospective evaluation of shoulder-related problems in patients with pectoral cardioverter-defibrillator implantation. Am Heart J 1998; 135: 577-83.

เบญจา แซ่ลิ้ม, ภัทรพงษ์ มกรเวส. ผลของการติดตามการให้โปรแกรมการบริหารข้อไหล่ ในผู้ป่วยผู้ป่วยที่ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจในระยะเวลา 3 เดือน. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2558; 27: 61-7.

สายสมร เฉลยกิตติ, พรนภา คำพราว, สมพิศ พรหมเดช. ความปลอดภัยของผู้ป่วยกับคุณภาพบริการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15: 66-70.

เพียรจิตต์ ภูมิสิริกุล, ปัทมา อนุมาศ, จิดาภา จารุสินธ์ชัย, อรพันธ์ พรรณประดิษฐ์. ผลของการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับบันทึกทางการพยาบาลผ่าตัดต่อคุณภาพบันทึกทางการพยาบาล ห้องผ่าตัดศัลยศาสตร์. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2556; 19: 249-263

จันทร์ทิรา เจียรณัย. การพัฒนาโปรแกรมบันทึกทางการพยาบาล: การวิจัยนำร่อง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2559; 22: 93-110

วันวิสาข์ ศรีสุเมธชัย, บวร คลองน้อย. การวิเคราะห์ความต้องการระบบสารสนเทศทางทันตกรรมเพื่อใช้งานทางคลินิก. ว. วิทย. เทคโน. หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2558; 1: 23-32.

จิณพิชญ์ชา มะมม. ประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อความรู้และทักษะการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสภาการพยาบาล 2555; 27: 90-100.

จิตรา ชัยวุฒิ, สุกัญญา ปริสัญญกุล, ฉวี เบาทรวง, กิ่งฟ้า แสงลี. การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การประเมินความก้าวหน้าในระยะคลอด. พยาบาลสาร 2554; 38: 10-9.

สุรัตน์ ไชยชมภู. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาองค์การ. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา 2555; 7: 1-14.

พรชัย ดีไพศาลสกุล. ความคาดหวัง และการรับรู้ของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการโรงพยาบาล. Veridian E-Journal, SU 2556; 6: 573-92.

ภาวินี แสงจันทร์, ชวนชม ธนานิธิศักดิ์. การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับให้บริการเลิกบุหรี่โดยเภสัชกรชุมชน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2561; 33: 169-75.

Downloads

Published

2019-02-21

Issue

Section

Original Articles