Family and Community Participation in Caring of Chronic Schizophrenia Patients: A Case study at Ban Tha Muang Community Roi, Et Province
Keywords:
Schizophrenia patient, participation of community.Abstract
การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง: กรณีศึกษาที่ชุมชนบ้านท่าม่วง จังหวัด ร้อยเอ็ด
อติญา โพธิ์ศรี
กลุ่มวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 45120
หลักการและวัตถุประสงค์ : การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง มีประโยชน์ต่อทั้งผู้ป่วยจิตเภท ครอบครัว ชุมชนและพยาบาล การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง 2) ศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนครอบครัวต่ออาการทางลบของผู้ป่วยจิตเภท
วิธีการศึกษา : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ทำการ คัดเลือกกลุ่มผู้เข้าร่วมแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 38 ราย ประกอบด้วยสมาชิกครอบครัวของผู้ป่วยจิตเภท 12 ราย ผู้ป่วยจิตเภท 12 ราย พยาบาลวิชาชีพ 2ราย และอาสาสมัครสาธารณสุข 12 ราย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินอาการทางลบ เก็บข้อมูลโดยใช้กระบวนการ PAR ประกอบด้วย 1) ระยะวางแผนการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) ระยะดำเนินการ 3) ระยะกำกับติดตามกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 4) ระยะประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา : กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้แกนนำในชุมชน เป็นการนำทรัพยากรจากชุมชนมาพัฒนาศักยภาพชุมชน ให้สามารถคิด วิเคราะห์ วางแผน ดำเนินการ และติดตามประเมินผลในและการใช้โปรแกรมสนับสนุนครอบครัว อาการทางลบของผู้ป่วยจิตเภท หลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนกลุ่มครอบครัว น้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการสนับสนุนกลุ่มครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
สรุป: กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง โดยการร่วมคิด วิเคราะห์ วางแผน ดำเนินการ และติดตามประเมินผล สามารถช่วยฟื้นฟูให้ผู้ป่วยจิตเภทสามารถช่วยเหลือตนเองได้ตามอัตภาพ และโปรแกรมสนับสนุนครอบครัวสามารถลดอาการทางลบและทำให้ผู้ป่วยจิตเภทอยู่ร่วมกับครอบครัวได้
Background and Objective : To demonstrate family and community participation in care of patients with chronic Schizophrenia is beneficial for the patients , their parents, the community and the nurses. This participatory Action Research (PAR) has two mean objectives: 1) to study the effects of community Participation in care of chronic Schizophrenia patients; 2) to study the effects of the family support group program on the negative symtoms of patients with Schizophrenia.
Methods: This PAR purposive sampling was used to select 12 chronic Schizophrenia patients , 12 caregivers, 2 nurses and 12 health volunteers. Study instruments include general information of the sample group , focus group and in-depth interviews, Negative Syndrome Scale . The PAR process consisted of four phases: 1) planning and development of a community participation process; 2) implementation of the process; 3) monitoring the effects; and 4) evaluation of results. Analysis of the data was performed using a quantitative and qualitative methods.
Results : Allowing the community leader to direct community members in the participation plan enables them to think, analyze, plan, carry out and monitor patients in their community in a structured way. The negative symptoms of patients participating in the family support groups program were significantly lower than before the experiment (PL 0.05).
Conclusions This study revealed that developing the community participation plan assists in the rehabilitation of the patients. The result Suggest that schizophrenic patients could decrease negative symtoms with family support groups. This allows the patients are more freedom to live in their community.
References
Rössler W, Joachim Salize H, van Os J, Riecher-Rössler A. Size of burden of schizophrenia and psychotic disorders. Eur Neuropsychopharmacol. 2005; 15: 399-409.
Mc Grath J, Saha S, Chant D, Welham J. Schizophrenia: A Concise Overview of Incidence, Prevalence, and Mortality. Epidemiologic Rev. 2008; 30: 67-76.
Phanthunane P, Vos T, Whiteford H, Bertram M, Udomratn P. Schizophrenia in Thailand: prevalence and burden of disease. Popul Health Metr. 2010;24: 1-8.
Sadock, B.J., Sadock, V.A. Kaplan & Sadock’s synopsis of psychiatry: Behavioral Sciences and clinical psychiatry.10thed. Philadelphia: Williams & Wilkins. New York; 2007.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถิติผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลจิตเวช. ประเทศไทย. 2549
พิชญา เหลียงพานิช, ชมชื่น สมประเสริฐ, เอกอุมา อิ้มคำ. ผลของโปรแกรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนต่อความสามารถในการฟื้นฟูจิตสังคมผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแล. วารสารพยาบาลทหารบก. 2560; 3: 357-64.
Knapp Martin, Mc Crone P, Leeuwenkamp Oscar. Associations between negative symptoms, service use patterns, and costs in patients with schizophrenia in the five European countries. Clinical Neuropsychiatry. 2008; 5: 195-205.
Carpenter WT Jr, Heinrichs DW, Alphs LD. Treatment of negative symptoms. Schizophr Bull. 1985; 11: 440-52.
Carpenter WT Jr, Strauss JS, Bartko JJ. Flexible system for the diagnosis of schizophrenia: Report from WHO International Pilot Study of Schizophrenia. Science. 197; 182: 1275-8.
ธนา นิลชัยโกวิทย์, เปญ อุ่นอนงค์, ดารเณศ เกษไสว, ปราการ ถมยางกูร. Positive and negative syndrome scale ฉบับภาษาไทย (PANSS-T). กรุงเทพฯ: แจนแซ่นแลก, 2550.
อติญา โพธิ์ศรี, เพ็ญพักตร์ อุทิศ. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนกลุ่มครอบครัวต่ออาการทางลบของผู้ป่วยจิตเภทชุมชน. วารสารพยาบาลสภาการชาดไทย. 2551, 1(1): 68-85
ปราณี มีหาญพงษ์, กรรณิการณ์ ฉัตรดอกไม้. การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาล.วารสารพยาบาลทหารบก. 2561,1: 9-15.
ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การวิจัยเชิงคุณภาพในวิชาชีพพยาบาล(พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2548.
แก้วตา มีศรี, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน. วารสารพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. 2555; 26: 35-49.
เปรมฤดี ดำรักษ์, อังคณา วังทอง, อนุชิต วังทอง. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังซับซ้อน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. วารสารสมาคมนักวิจัย. 2557; 19: 92-103.
ขวัญสุดา บุญทศ, อมรรัตน์ ศรีคำสุข ไซโตะ, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล. การสนับสนุนทางสังคมต่อผู้ที่เป็นโรคจิตเภท. การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 27 ประจำปี 2554.
ขุมทรัพย์ ก้อน, ทองวีณา จีระแพทย์, เพ็ญพักตร์ อุทิศ. ผลของโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมต่ออาการด้านลบของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลสุขภาพและจิตเวช. 2559; 30: 52-65.