Factors Influencing Patient- Centered Care as Perceived by Registered Nurses Working in Srinagarind Hospital, Khonkaen University

Authors

  • Tassanun Thaiautvitee
  • Apinya Jumpamool

Keywords:

environmental factors, patient-centered care, professional value perceived, ปัจจัยสิ่งแวดล้อม, การดูแลที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง, การรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ

Abstract

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดูแลที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ทรรศนันทน์  ไทยอัฐวิถี1, อภิญญา  จำปามูล2

1แผนกการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์,

2สาขาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น

หลักการและวัตถุประสงค์: การดูแลที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เป็นแนวคิดที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพบริการ ปัญหาของการดูแลที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง พบว่ามีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมบริการและระบบบริการของผู้ให้บริการ ปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมบริการของพยาบาลไม่เป็นไปตามความคาดหวังของผู้รับบริการ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการดูแลที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ของพยาบาลวิชาชีพ  และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดูแลที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบการพยากรณ์ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จำนวน 237 ราย จาก 52 หอผู้ป่วย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยสิ่งแวดล้อม และการปฏิบัติการดูแลที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ได้รับแบบสอบถามกลับคืนร้อยละ 85 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน 

ผลการศึกษา: พบว่า การดูแลที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศรีนครินทร์มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (mean ±SD) (4.44 ± 0.43)  และ ตัวแปรที่พยากรณ์การดูแลที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของพยาบาลวิชาชีพได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p≤ 0.05 คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และปัจจัยสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1) การรับรู้คุณค่าวิชาชีพ  2) การสื่อสาร 3) การทำงานเป็นทีม และ 4) การสนับสนุนการปฏิบัติงาน โดยพยากรณ์ได้ร้อยละ 59.2

สรุป:   ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และปัจจัยสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1) การรับรู้คุณค่าวิชาชีพ  2) การสื่อสาร 3) การทำงานเป็นทีม และ 4) การสนับสนุนการปฏิบัติงานมีอิทธิพลต่อการดูแลที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของพยาบาลวิชาชีพ ดังนั้นผู้บริหารทางการพยาบาลควรส่งเสริมให้มีการจัดอบรมการดูแลที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางตามระดับสมรรถนะของพยาบาล โดยเฉพาะการรับรู้คุณค่าวิชาชีพ การสื่อสาร  รวมทั้งส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ

Background and objective: Patient-centered care is the importance concept of service quality development. The problem of patient-centered care reveal that there were complaints about behavior and service system of nurses. Part of the problem is nurses behavior not according to the expectation of the service recipient. Therefore, this study aimed to study 1) the level of patient-centered care of registered nurses and 2) Factors influencing patient- centered care as perceived by registered nurses working in Srinagarind Hospital.

Methods:  This was a predictive study. Data were collected from 237 registered nurses of 52 wards in Srinagarind  Hospital using a stratified sampling method. The research instruments included demographic data, environmental factors and patient-centered care questionnaires. Data were analyzed by descriptive statistics, Pearson’s Product Moment Correlation and Stepwise Multiple Regression Analysis. 

Results: The results revealed that. Overall level of patient-centered care of staff nurses was at the high level  (4.44 ± 0.43)  and  factors influencing which could significantly predict patient-centered care of staff nurses at p≤ 0.05 level were personal factors was  a operational time and 2) environmental factors included 1) professional value perceived  2) communication 3) teamwork and 4) operational support. These factors accounted for 59.2%

Conclusion: The personal factors were operational time and  environmental factors included 1) professional value perceived  2) communication 3) teamwork and 4) operational support factors coulded influence the prediction of patient-centered case. Therefore, nursing administration should encourage to focus on patient-centered care according to the level of performance of nurses. professional value perceived  communication and promote a good working environment of register nurses. 

References

รำไพ เทศสวัสดิ์วงศ์, อารี ชีวเกษมสุข. พฤติกรรมการดูแลที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของพยาบาลวิชาชีพ แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์. เอกสารประกอบการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 5 [ออนไลน์]. 2558 [อ้างเมื่อ 6 พฤษภาคม 2560]. จาก https://bit.ly/2L9lM4a

Australian Commission on Safety and Quality in Health Care. Patient-centred care: improving quality and safety by focusing care on patients and consumers. Sydney: ACSQHC, 2010.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงาน, 2559.

Frampton S, Guastello S, Brady C, Hale M, Horowitz S, Smith SB, et al. Patient-Centered care: improvement guide. Camden: Picker Institute, 2008.

งานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลศรีนครินทร์. สถิติข้อร้องเรียน ชมเชย และข้อเสนอแนะของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี พ.ศ. 2560. ขอนแก่น: โรงพยาบาล, 2560.

งานนโยบายและแผน ฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. แผนยุทธศาสตร์การบริหาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2559. ขอนแก่น: โรงพยาบาล, 2559.

Gerteis M, Edgman-Levitan S, Daley J, Delbanco TL, editors. Through the patient’s eyes: understanding and promoting patient-centered care. San Francisco: Jossey-Bass, 1993.

Mead N, Bower P. Patient-centred consultations and outcomes in primary care: a review of the literature. Patient Educ Couns 2002; 48: 51–61.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ: ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี (ภาษาไทย). ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. นนทบุรี: สถาบัน, 2558.

McCormick EJ, Ilgen DR, McCormick EJ. Industrial and organizational psychology. 8th ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall, 1985.

ประคอง กรรณสูต. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3 (ฉบับปรับปรุงแก้ไข). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.

Benner PE. From novice to expert: excellence and power in clinical nursing practice. Menlo Park, CA: Addison-Wesley, 1984.

มะลิ ธีรบัณฑิตกุล, สุทธีพร มูลศาสตร์. คุณภาพบริการพยาบาลแบบเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางตามการรับรู้ของผู้รับบริการในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา. วารสารกองการพยาบาล 2557; 41: 26–42.

ทิพาภรณ์ หาญมนตรี, สุทธีพร มูลศาสตร์. คุณภาพบริการแบบมุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตตรวจราชการที่ 1. วารสารพยาบาล 2557; 63: 49–56.

รัชนี สินะสนธิ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล เจตคติต่อวิชาชีพ ค่านิยมต่อวิชาชีพกับการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อพิทักษ์สิทธิประโยชน์ผู้ป่วย ของของพยาบาลวิชาชีพ งานผู้ป่วยในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป เขต 2. วารสารสภาการพยาบาล 2543; 15: 1–13..

กนกขวัญ เผ่าทิพย์จันทร์, ดวงกมล ปิ่นเฉลียว, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล. ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะใน การสื่อสาร ขีดความสามารถด้านความปลอดภัยกับการจัดการความปลอดภัยของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลตำรวจ 2558; 7: 210–22

งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์. นโยบายงานบริการพยาบาล ฉบับที่ 1. ขอนแก่น: โรงพยาบาล; 2559.

ศิริลักษณ์ พยัคฆเมฆ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศิริราช. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ 2557; 29: 78–85.

พรพรรณ สุนทรสุต, ประจักร บัวผัน. บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัย มข 2554; 16: 551–62.

Downloads

Published

2019-04-01

Issue

Section

Original Articles