Personal Factors and Clinical Characteristics among Patients with Type 2 Diabetes Mellitus in Public Health Center 3 Suan Phrik Thai
Keywords:
HbA1c levels, ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดAbstract
ปัจจัยส่วนบุคคลและลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 สวนพริกไทย
หฤทัย เสือบัว
ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครนครราชสีมา
หลักการและวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ลักษณะทางคลินิก พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ การเข้าถึงบริการและการรักษาที่ได้รับของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 สวนพริกไทย
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง (cross-sectional descriptive study) ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 สวนพริกไทย ระหว่างเดือน เมษายน ถึง พฤษภาคม พ. ศ. 2560 เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์และข้อมูลจากเวชระเบียน กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 126 ราย โดยกำหนดให้การควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดได้ดี (good glycemic control) คือมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) น้อยกว่าร้อยละ 7
ผลการศึกษา: พบว่ามีกลุ่มตัวอย่างถึง 67 ราย (ร้อยละ 53.2) ที่สามารถควบคุมระดับระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ได้น้อยกว่าร้อยละ 7 ปัจจัยด้าน อายุ ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง (fasting plasma glucose) การออกกำลังกายและการรักษาที่ได้รับในปัจจุบัน ระหว่างกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดได้ดีและกลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกพหุกลุ่ม (multinomial logistic regression analysis) พบว่ามีเพียงปัจจัยด้านระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป (OR = 2.77, 95%CI = 1.01- 7.55) และระดับ FPG ที่ มากกว่า 130 mg/dl (OR = 6.89, 95%CI = 2.88-16.54) มีความสัมพันธ์กับการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ผู้ป่วยเบาหวานในศูนย์บริการสาธารณสุข 3 สวนพริกไทย สามารถควบคุมเบาหวานได้ตามมาตรฐานการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมานานกว่า10ปี และมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง มากกว่า 130 mg/dl ควรได้รับการดูแลและติดตามอย่างใกล้ชิด
Objectives: The aim of this study was to determine the status of glycemic control and identify factors associated with poor glycemic control among patients with type 2 diabetes mellitus in Public health center 3, Suan Phrik Thai
Methods: This was a cross-sectional descriptive study. The study population (n=126) was obtained by purposive sampling from the type 2 diabetes mellitus patients attending the Public health center 3, Suan Phrik Thai in the period April – May 2017. Data were collected from interviews and patients’ medical records. Good glycemic control was defined as HbA1c less than 7 percent
Results: Of the total 126 patients, 67 (53.2%) had HbA1c less than 7percent, indicating good glycemic control. In this study, age, duration of diabetes mellitus, fasting plasma glucose, exercise and drug utilization pattern were significantly associated with glycemic control. Results from multinomial logistic regression models, being duration of diabetes mellitus more than 10 yrs (OR = 2.77, 95%CI : 1.01- 7.55) and fasting plasma glucose > 130 (OR = 6.89, 95%CI : 2.88-16.54) were significantly associated with poor glycemic control.
Conclusions: A lot of patients achieved diabetic targets control. However, care should be taken for more than 10 years diabetic patients and fasting plasma glucose > 130 mg/dl should be closely monitored.References
วรรณี นิธิยานันท์. คนไทยป่วย ‘เบาหวาน’ พุ่ง ป่วยแล้ว 5 ล้าน ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนพบบ่อย ‘ไตเรื้อรัง’. [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 16 มกราคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: www.hfocus.org/content/2016/11/12992
วราภณ วงศ์ถาวราวัฒน์ . โรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน ประมาทไม่ได้ . [อินเตอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 23 มกราคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bumrungrad.com/th/betterhealth/2555/keep-your-heart-healthy/diabetic-heart-disease
Yamane T. Elementary sampling. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall, 1967.
American Diabetes Association (ADA). Standards of Medical Care in Diabetes 2017. Diabetes Care 2017; 40(Suppl 1):S4-5.
World Health Organization. Facts & Figures: Classification of diabetes mellitus. [Accessed
August 14, 2006].Available from: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs138/en/.
พรทิพย์ มาลาธรรม, ปิยนันท์ พรหมคง, ประคอง อินทรสมบัติ. ปัจจัยทำนายระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2553; 16:218-37.
Al-Lawati JAI, Barakat MN, Al-Maskari M, Elsayed MK. HbA1c Levels among Primary Healthcare Patients with Type 2 Diabetes Mellitus in Oman. Oman Med 2012; 27: 465–70.
กุสุมา กังหลี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็น
เบาหวานชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15: 256-68.
โศรดา ชุมนุ้ย และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลร่องค้า อำเภอร่องค้า จังหวัดกาฬสินธุ์.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2550; 1: 60-9.
ปกาสิต โอวาทกานนท์. นิพนธ์ต้นฉบับผลการดูแลรักษาเบาหวานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. ศรีนครินทร์เวชสาร 2554; 26: 339-49.
อุสา พุทธรักษ์ และ เสาวนันท์ บำเรอราช. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลก้างปลา จังหวัดเลย. The national graduate research conference 34th. 989-1000.
Nor Azlina A. Rahman, A.A.-S. Ismail, Yaacob Nor Azwany, Lin Naing. Factors associated with HbA1c levels in poorly controlled type 2 diabetic patients in North-East Malaysia. International Medical Journal 1994; 15:29-34.
นภา เมฆวณิชย์. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง Fasting Plasma Glucose และ Hemoglobin A1c เพื่อจัดทำตารางค่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยในผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า. วารสารเทคนิคการแพทย์ 2557; 42:4974-90.
Ahmad NS, Islahudin F, Paraidathathu T. Factors associated with good glycemic control among patients with type 2 diabetes mellitus. J Diabetes Investig 2014; 5:563–9.