Effect of Post-Operative Recovery Program with the Use of Easy Walk Equipment to Prevent Complications in Abdominal Surgery Patients

Authors

  • Siriorn khoyun
  • Warisra Poothawee
  • Arpa Srisoy

Keywords:

โปรแกรมการฟื้นตัว, พฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน, ผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง

Abstract

หลักการและวัตถุประสงค์ : การผ่าตัดช่องท้องเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพซึ่งพบมากในปัจจุบัน   อย่างไรก็ตาม ผลของการรักษามักจะทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อและปวดบริเวณแผลผ่าตัด ส่งผลต่อความสามารถในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด  อาการปวดแผล และอาการท้องอืดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นตัวหลังผ่าตัดร่วมกับใช้เครื่องพยุงเดินหลังผ่าตัดกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ 

วิธีการศึกษา:เป็นการศึกษากึ่งทดลอง ชนิดมีกลุ่มควบคุมในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา โดยการผ่าตัดช่องท้อง จำนวนทั้งสิ้น 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 ราย ได้รับโปรแกรมการฟื้นตัวหลังผ่าตัดและใช้เครื่องพยุงเดินและกลุ่มควบคุม 30 ราย ได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยในวันที่ 1-3 หลังผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบไคสแคว์ (Chi-Square) และการทดสอบทีอิสระ (Independent T test) กำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ 0.05

ผลการศึกษา:ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุม จากการศึกษาพบว่าในวันที่ 2 และวันที่ 3 หลังผ่าตัด กลุ่มทดลองมีอาการปวดแผล และอาการอืดแน่นท้อง น้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

สรุป: การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการฟื้นตัวหลังผ่าตัดและเครื่องพยุงเดินสามารถช่วยส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องได้ดี หน่วยบริการด้านศัลยกรรมอาจจะนำผลวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดให้ดียิ่งขึ้นต่อไป 

Background and Objective: Abdominal surgery is the most common and effective treatment; however, it may cause tissue injury and pain in the post-operative period. These symptoms affect the patient's ability to perform recovery behaviors and consequently cause post-operative complications. This study intended to compare post-operative recovery behaviors for preventing post-operative complications, pain, and flatulence among post-operatively abdominal surgery patients who received post-operative recovery program and used Easy Walk equipment and the control group who received only standard nursing care.

Method : This was a quasi-experimental study. The participants were sixty abdominal surgery patients recruited by purposive sampling allocated to one experiment group (n=30) and one control group (n=30). The experimental group received post-operative recovery program with Easy Walk, while the control group received standard nursing care. Data was collected on 1-3 days after surgery. Data was analyzed by Chi-Square tests and independent T tests at the 95% confidence level.

Results: The mean score of recovery behaviors for preventing complications in post-operatively abdominal surgery patients in the experimental group was significantly higher than the control group.

The results showed that on day 2 and day 3 after surgery, the experimental group unveiled pain scores and abdominal distension significantly less than that of the control group (p <0.001).

Conclusion:  This study revealed that post-operative recovery program and Easy Walk could help prevent complications in post-operatively abdominal surgery patients. Surgical service departments could apply this program to guide quality improvement in post-operative care.


References

Smeltzer S, Bare B, Hinkle J, Cheever KB. Suddarth's Textbook of Medical-Surgical Nursing (11th). Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins; 2008.

Buttenschoen K, Fathimani K, Buttenschoen DC. Effect of major abdominal surgery on the host immune response to infection. Curr Opin Infect Dis 2010; 23: 259-67.

Lillis, Carol, Priscilla Lemone, Pamela Lynn. Fundamentals of nursing: the art and science of nursing care. Vol. 7. Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins; 2011.

Craven RF, Hirnle CJ. Fundamentals of Nursing. Human Health and Function. Fourh Ed.

Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins; 2003.

สิริมนต์ ดำริห์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัดฉุกเฉินต่อการรับรู้สมรรถนะของตนเอง และคุณภาพการฟื้นตัวหลังผ่าตัด ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องแบบฉุกเฉิน. กรุงเทพมหานคร :

มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.

พรรณทิพย์ เกียรติสัน. การฟื้นตัวหลังผ่าตัดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง: การสังเคราะห์วรรณกรรม.

สารนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2552.

Browning L, Denehy L, Scholes RL. The quantity of early upright mobilisation performed following upper abdominal surgery is low: an observational study. Aust J Physiother 2007; 53: 47-52.

Phipps,Wilma J. Medical-surgical nursing: Health and illness perspectives. Mosby, 2003.

ธวัชชัย วรพงศธร และสุรีย์พันธ์ วรพงศธร. การคํานวณขนาดตัวอย่างสําหรับงานวิจัย โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป G*Power. กรมอนามัยส่งเสริมให้คนไทยสุขภาพดี 2561; 41: 11-21.

Breivik H, Borchgrevink PC, Allen SM, Rosseland LA, Romundstad L, Breivik Hals EK, Stubhaug, A. Assessment of pain. Br J Anaesth 2008; 101: 17-24.

สุภาภรณ์ สังขวัฒน์. ผลของโปรแกรมการพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องแบบเร่งด่วน 72 ชั่วโมงแรก ต่อการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัดลำไส้อุดตัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ .บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2554.

นิคม ถนอมเสียง. 2562. เอกสารประกอบการอบรมเรื่องการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม.

[สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2562]. แหล่งที่มา https://home.kku.ac.th/nikom/item_relia_validity_2007_u1.pdf .

Good M, Stanton-Hicks M, Grass JA, Anderson GC, Makii M, Geras J. Pain after gynecologic surgery. Pain Manag Nurs 2000; 1: 96-104.

มัณฑนา ปรีเลิศ. การจัดการกับภาวะท้องอืดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดมดลูกและหรือรังไข่ออกทางหน้าท้อง.

รายงานการวิจัย.โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, 2555.

สราวุฒิ สีถาน. ผลของโปรแกรมความพร้อมก่อนผ่าตัดต่อการฟื้นตัวในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องวารสาร มฉก.วิชาการ 2560; 20: 101-13.

ฉลาด แสงอาทิตย์, ปาริชาต กางร่มกลาง, เดชา ทำดี. การวิเคราะห์สถานการณ์การส่งเสริมการกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมโดยเร็วในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง หอผู้ป่วยพิเศษเฉลิมพระบารมี 10 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพยาบาลสวนดอก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ 2559; 22: 18-27.

Downloads

Published

2019-07-03

Issue

Section

Original Articles