Laparoscopic Myomectomy Outcomes: an Experience in Srinagarind Hospital

Authors

  • Amornrat Temtanakitpaisan
  • Teerayut Temtanakitpaisan

Keywords:

Laparoscopic myomectomy, intraoperative outcomes, Postoperative outcomes, การผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อเอาเนื้องอกมดลูกออก, ผลลัพธ์ขณะทำการผ่าตัด, ผลลัพธ์หลังการผ่าตัด

Abstract

ผลลัพธ์ของการผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อเอาเนื้องอกมดลูกออก ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

อมรรัตน์ เต็มธนะกิจไพศาล, ธีระยุทธ เต็มธนะกิจไพศาล

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์จากกการผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อเอาเนื้องอกมดลูกออก ในช่วงระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัด ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาย้อนหลังของการผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อเอาเนื้องอกมดลูกออก จากข้อมูลการผ่าตัด และจากฐานข้อมูลของพยาธิวิทยา ระหว่างเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2561 ถึง มิถุนายน พ.ศ.2562 จำนวน 11 รายที่ได้รับการผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อเอาเนื้องอกมดลูกออกที่ใช้เทคนิคเหมือนกันในการผ่าตัด และนำเสนอข้อมูลพื้นฐานทั่วไป เช่น อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง จำนวนการตั้งครรภ์ อาการที่เกิดจากเนื้องอกมดลูก การใช้ยาฉีด GnRH agonist ก่อนผ่าตัด ข้อมูลของเนื้องอกมดลูกขณะทำการผ่าตัด เช่น ชนิด จำนวน ขนาด ขนาดเนื้องอกที่ใหญ่ที่สุด และผลลัพธ์ขณะและหลังการผ่าตัด

ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยอายุ และดัชนีมวลกายของคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อเอาเนื้องอกมดลูกออก คือ 35.5 ปี และ 22.7 กิโลกรัม/ตารางเมตร ตามลำดับ ข้อบ่งชี้ที่ได้รับการผ่าตัดที่พบมากที่สุด คือ การที่มีเลือดประจำเดือนออกมากผิดปกติ และมีอาการปวดประจำเดือน/ปวดท้องน้อยร่วมด้วย การผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อเอาเนื้องอกมดลูกออกสำเร็จ จำนวน 10 รายจากทั้งหมด 11 ราย (ร้อยละ 90.0) ค่าเฉลี่ยของปริมาณเลือดที่เสียไปจากการผ่าตัด และค่าเฉลี่ยของระยะเวลาการผ่าตัด คือ 320.0 มิลลิลิตร และ 155.4 นาที ตามลำดับ ค่ากลางของระยะเวลาที่ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาลหลังผ่าตัด คือ 3 วัน จากการศึกษาไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด เช่น แผลติดเชื้อ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ภาวะแทรกซ้อนจากทางเดินหายใจ ภาวะแทรกซ้อนจากระบบหัวใจและหลอดเลือด หรือ การที่ต้องมาผ่าตัดซ้ำ หลังผ่าตัดมีผู้ป่วย 1 รายตั้งครรภ์ (ร้อยละ 9.1)

สรุป: การผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อเอาเนื้องอกมดลูกออกต้องอาศัยทักษะในการผ่าตัดขั้นสูง การประเมินคนไข้ก่อนทำการผ่าตัดเป็นสิ่งสำคัญ จากประสบการณ์การผ่าตัดที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ การผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อเอาเนื้องอกมดลูกออกถือว่าเป็นการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยเพื่อรักษาผู้ป่วยที่ต้องการเก็บมดลูกเอาไว้

Objective: To evaluate the intraoperative and postoperative outcomes of laparoscopic myomectomy in Srinagarind Hospital.

Methods: Retrospective data regarding laparoscopic myomectomy were collected between July 2018 and June 2019 from the hospital operating room records and the histopathology database. We found records of 11 women who had undergone laparoscopic myomectomy using a similar technique and examined their demographic data (age, body weight, height, parity), presenting symptoms, preoperative GnRH agonist used, and operative details such as type and number of myomas, size of the largest myoma, and perioperative and postoperative outcomes.

Results: The mean age + SD and mean BMI + SD were 35.5 + 5.1 years and 22.7 + 3.7 kg/m2, respectively. The most common indications were hypermenorrhea and dysmenorrhea/pelvic pain. The procedure was completed laparoscopically in 10 of the 11 women (90.9%). The mean amount of intra-operative blood loss + SD and the mean operative time + SD were 320.0 + 249.8 ml. and 155.4 + 23.4 minutes, respectively. The median length of postoperative hospital stay was 3 days (IQ 3-4). No postoperative complications, such as surgical site infection, urinary tract infection, pulmonary complications, cardiac complications, or reoperation, were noted. One of the patients became pregnant after the procedure (9.1%)

Conclusions: Laparoscopic myomectomy is a minimally invasive procedure that requires advanced skills. Preoperative evaluation is important in deciding the type of procedure to be performed. In our experience, laparoscopic myomectomy is safe and is effective in preserving the uterus. 

References

Liu L, Li Y, Xu H, Chen Y, Zhang G, Liang Z. Laparoscopic transient uterine artery occlusion and myomectomy for symptomatic uterine myoma. Fertil Steril 2011; 95: 254–8.

Lagana AS, Vergara D, Favilli A, La Rosa VL, Tinelli A, Gerli S, et al. Epigenetic and genetic landscape of uterine leiomyomas: a current view over a common gynecological disease. Arch Gynecol Obstet 2017; 296: 855–67.

De La Cruz MSD, Buchanan EM. Uterine Fibroids: Diagnosis and Treatment. Am Fam Physician 2017; 95: 100–7.

Bean EMR, Cutner A, Holland T, Vashisht A, Jurkovic D, Saridogan E. Laparoscopic Myomectomy: A Single-center Retrospective Review of 514 Patients. J Minim Invasive Gynecol 2017; 24: 485–93.

Cohen SL, Senapati S, Gargiulo AR, Srouji SS, Tu FF, Solnik J, et al. Dilute versus concentrated vasopressin administration during laparoscopic myomectomy: a randomised controlled trial. BJOG Int J Obstet Gynaecol 2017; 124: 262–8.

Chen I, Motan T, Kiddoo D. Gonadotropin-releasing hormone agonist in laparoscopic myomectomy: systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. J Minim Invasive Gynecol 2011; 18: 303–9.

Glaser LM, Friedman J, Tsai S, Chaudhari A, Milad M. Laparoscopic myomectomy and morcellation: A review of techniques, outcomes, and practice guidelines. Best Pract Res Clin Obstet Gynaecol 2018; 46: 99–112.

Bhave Chittawar P, Franik S, Pouwer AW, Farquhar C. Minimally invasive surgical techniques versus open myomectomy for uterine fibroids. Cochrane Database Syst Rev 2014; CD004638.

Sizzi O, Rossetti A, Malzoni M, Minelli L, La Grotta F, Soranna L, et al. Italian multicenter study on complications of laparoscopic myomectomy. J Minim Invasive Gynecol 2007; 14: 453–62.

Downloads

Published

2019-09-23

Issue

Section

Original Articles