Prevalence and Factors Affecting Musculoskeletal Disorders among Thai Ancient Goldsmith Workers in Sukhothai Province
Keywords:
Musculoskeletal disorders, Work-related factor, Thai ancient goldsmiths, อาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง, ปัจจัยด้านการทำงาน, ช่างทำทองไทยโบราณAbstract
ความชุกและปัจจัยที่ส่งผลต่ออาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของกลุ่มช่างทำทองไทยโบราณ จังหวัดสุโขทัย
จุฑามาศ ตามเพิ่ม1* อัมรินทร์ คงทวีเลิศ2 ดุสิต สุจิรารัตน์3 เพชรรัตน์ ภูอนันตานนท์4
1*,2ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
3ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
4คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
5ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา กรุงเทพฯ
หลักการและวัตถุประสงค์ : อาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สามารถพบได้ในกลุ่มช่างทำทองไทยโบราณ เนื่องจากเป็นอาชีพที่มีท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่ส่งผลต่ออาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วยข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านการทำงาน จากกลุ่มผู้ทำอาชีพช่างทำทองไทยโบราณ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 124 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานแบบบถดถอยลอจิสติก ( Logistic Regression) นำเสนอด้วยค่า Adjusted OR (ORadj) ที่ระดับช่วงความเชื่อมั่น 95%
ผลการศึกษา: ช่างทำทองไทยโบราณส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 66.19 มีอายุเฉลี่ย 37.17 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความชุกของอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในรอบ 12 เดือนและ 7 วันที่ผ่านมา ร้อยละ75.0 และ 34.7 ตามลำดับ ตำแหน่งที่ปวดมากที่สุดคือ หลังส่วนล่าง คอ หัวไหล่และแขนส่วนบน จากการศึกษานี้พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่ออาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างมากที่สุดได้แก่ การทำงานต้องอยู่ในท่าที่เกร็งกล้ามเนื้อหรือต้องออกแรงมากต่อเนื่องเป็นเวลา 3-5 นาที และงานที่ต้องออกแรงบีบหรือแรงกดเสมอ
สรุป: มีความชุกของอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างสูง ในกลุ่มช่างทำทองไทยโบราณ ดังนั้นควรมีการรณรงค์ให้ผู้ประกอบการส่งเสริมความรู้ทางด้านความปลอดภัยในการทำงาน พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนรูปแบบกระบวนการผลิตหรือใช้เครื่องมือที่มีความทันสมัยเพื่อช่วยทุ่นแรงในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ร่วมกับส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานตระหนักถึงความปลอดภัยและสุขภาพของตนเอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขและลดปัญหาทางด้านการยศาสตร์ในอนาคต
Background and objective: Musculoskeletal disorders (MSDs) are one of the health problems that can be encountered among Thai ancient goldsmith workers. The inappropriate posture is one of the factors which cause the work-related injury among this worker. This study aimed to examine factors related to musculoskeletal disorders.
Methods: This was a descriptive study, collecting data by using the interview which is divided into two sections; personal information factors and work-related factors among Thai ancient goldsmith workers at Si-Satchanalai district Sukhothai province. The study samples were 124 Thai ancient goldsmith workers. Data analysis was performed using descriptive statistics and logistic regression of which the results were depicted via adjusted OR (ORadj) at the 95% confidence interval.
Results: The most ancient goldsmith workers were female (66.1%), with an average age of 37.17 years and most of them were high school graduates. The prevalence of musculoskeletal disorders in the past 12 months and 7 days were 75.0% and 34.7%, respectively. The most painful positions were the lower back, neck, shoulder and upper arm. From this study the most affecting factors on the musculoskeletal disorders found were working in the position of the muscle contraction or must be exerted continuously for 3-5 minutes and the work that always exerts force or pressure
Conclusion: There is a high prevalence of musculoskeletal disorders among Thai ancient goldsmith workers. Therefore, there should be a campaign for entrepreneurs to promote knowledge of safety in the workplace. As well as modification of the production process or using modern tools to help workers. Together with encouraging workers to realize of their safety and health to increase efficiency of correcting and reducing ergonomic problems in the future.
References
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและ สิ่งแวดล้อมปี 2560 [อินเตอร์เน็ต]. กรมควบคุมโรค.กรุงเทพฯ; 2560. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/669
Moosavia S, Desaia R, Hallajb S, Sundaramb KK, Vivek SH. Ergonomic analysis to study the intensity of MSDs among practicing Indian dentists. Procedia Manufacturing 2015; 3: 5419 – 26.
Ghosh T, Das B, Gangopadhyay S. Work-related musculoskeletal disorder: An occupational disorder of the goldsmiths in India. Indian J Community Med 2010; 35: 321-5.
เพชรรัตน์ แก้วดวงดี, รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล, วัณทนา ศิริธราธิวัตร, ยอดชาย บุญประกอบ, สาวิตรีวันเพ็ญ, ภาณี ฤทธิ์มาก และคณะ. ความชุกและปัจจัยด้านท่าทางการทำงานที่สัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่าง ในกลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมสิ่งทอ (แหอวน) จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2554; 4: 317-24.
Thotsathit N, Puntumetakul R, Eungpinichpong W, Peungsuwan P, Kanjanarach T. Prevalence of Musculoskeletal Disorders in Sewing Occupation in Khon Kaen Province. KKU Res J 2011; 26: 47-54.
Institute for Occupational Safety and Health of the German Social Accident Insurance. Assessment of physical workloads to prevent work-related MSDs 2016 [Internet]. [Cited April 22, 2019]. From https://oshwiki.eu/wiki/Assessment_of _physical_workloads_to_prevent_work-related_MSDs
จีรนันท์ ธีระธารินพงศ์, วีระพร ศุทธากรณ์. ความชุกของกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างกล้ามเนื้อและปัจจัยด้านท่าทางการทำงานในกลุ่มอาชีพสานตะกร้าไม้ไผ่. สาธารณสุขศาสตร์ 2557; 44: 273-87.
Chaiklieng S, Kampong T, Poochada W. Health Risk Assessment on Exposure to Ergonomics Factors among Informal Garment Workers. The Public Health Journal of Burapha University 2018; 12: 100-11.
Taweepiriyajinda S, Jamulitrat S, Sungkhapong A. Hazardous Working Posture Among Non- Healthcare Workers of Naradhiwasrajanakarindra Hospital and Prevalence of Work-Related Musculoskeletal Disorders (WMSDs). KKU Res J 2015; 15: 80-8.
โสภาพรรณ จิรนิรัติศัย. ภาวะผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกในคนงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประเภทผ้าและศิลปะประดิษฐ์ในเขต 4. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดราชบุรี, 2559.
เอกจินดา ธนาเลิศวิสุทธิ์, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มพนักงานเจียระไนเพชร กรุงเทพมหานคร. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2558; 18: 31-9.
จันจิรา ทิพวัง, กาญจนา นาถะพินธุ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดกล้ามเนื้อของกลุ่มอาชีพเย็บผ้าโหล ตำบลน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2559; 23: 46-61.
Aungudornpukdee P, Chuppawa W. Prevalence and Factors affecting Musculoskeletal Disorders among Cleaners. Naresuan University Journal: Science and Technology 2017; 25: 23-31.
Houshyara E, Kim IJ. Understanding musculoskeletal disorders among Iranian apple harvesting laborers: Ergonomic and stop watch time studies. International Journal of Industrial Ergonomics 2018; 67: 32-40.
รุ้งกานต์ พลายแก้ว, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, ธานี แก้วธรรมานุกูล. ท่าทางการทำงานและกลุ่มอาการผิดปกติของโครงร่างและกล้ามเนื้อในผู้ประกอบอาชีพผลิตยางพารา.พยาบาลสาร 2556; 40: 1-10.
พงศ์ธร สุราวุฒิ์. การปรับปรุงวิธีการบรรจุวุ้นเส้นโดยประยุกต์ใช้หลักการศาสตร์ [อินเตอร์เน็ต].มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.กรุงเทพฯ; 2559. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562]. เข้าถึงได้จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5610035023_3997_3017.pdf.