Community Participation in Development of Models for Reducing Pesticide Contact of Agriculturist Group : Case Study of Tobacco Grower Group of Nayor Village, Nangam Sub-District, RaenuNakhon District, NakhonPhanom Province
Keywords:
การลดการสัมผัสสารเคมี, เกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ, การพัฒนารูปแบบ, Reducing pesticide contact, tobacco growers agriculturists, developing modelsAbstract
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนารูปแบบการลดการสัมผัสสารเคมีปราบศัตรูพืชของกลุ่ม เกษตรกร : กรณีศึกษากลุ่มผู้ปลูกยาสูบบ้านนายอ ต.นางาม อ.เรณูนคร จ.นครพนม
เจริญชัย หมื่นห่อ*, บุญรอด ดอนประเพ็ง
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
หลักการและวัตถุประสงค์: ปริมาณการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชในเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบมีแนวโน้มมากขึ้น และผลกระทบที่เกิดจากการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชมีมากทั้งผลต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการลดการสัมผัสสารเคมีปราบศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบบ้านนายอ ต.นางาม อ.เรณูนคร จ.นครพนม
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) นี้ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง มีการดำเนินการ 4 ขั้นตอนประกอบด้วย 1) การศึกษาสถานการณ์จริงชุมชน 2) การจัดประชุมระดมสมองและสะท้อนคิด 3) การดำเนินการตามรูปแบบ และ 4) ประเมินผลการดำเนินการ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก แนวคำถามการสนทนากลุ่ม ประเด็นการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม แนวทางการจัดประชุมระดมสมองและสะท้อนคิด และแบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและความถี่ ร้อยละ
ผลการศึกษา: เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง มีการใช้สารเคมีทุกคน ปีละ 3- 4 ครั้ง มีการทำพันธะสัญญากับบริษัทยาสูบเอกชน ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับสารเคมีระดับสูง พฤติกรรมการใช้สารเคมีทั้ง ก่อน ขณะและหลังใช้สารเคมีอยู่ในระดับสูง การพัฒนาได้แนวปฏิบัติการลดการสัมผัสสารเคมีทั้ง 4 ขั้นตอนของการปลูกยาสูบคือ 1) การเพาะต้นกล้า 2) การดูแลต้นยา 3) การเก็บเกี่ยวใบยา และ4) การบรรจุใบยา ผลการดำเนินการตามแนวปฏิบัติพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติลดการสัมผัสสารเคมีที่พัฒนาขึ้นแต่กระบวนการยังยุ่งยากในการปฏิบัติและไม่มั่นใจถึงประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติของการปราบศัตรูพืชที่ใช้ใหม่ด้วย
สรุป: เกษตรกรรับรู้ถึงผลที่เกิดจากการสัมผัสสารเคมีปราบศัตรูพืชและเห็นความสำคัญของการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีแต่ยังไม่มั่นใจถึงประสิทธิภาพของแนวปฏิบัติการลดการสัมผัสสารเคมีที่นำมาใช้
Background and Objective: The volume of pesticide using in the tobacco agriculturists are increasing and the impact from using pesticides are so much on the health of farmers, the environment, economic and society. The purpose of this research was to develop the models for reducing pesticide contact of agriculturists group growing tobacco at Nayor village tobacco growers group, Nangam sub-district, RaenuNakhon district, NakhonPhanom province.
Methods: This participation action research used the sample group collected by Purposive Sampling. There are 4 steps of procedure; 1) Community situation study, 2) Brainstorming and thought reflection, 3)Implementation of the models and 4)Performance evaluation. Data collection tools consisted of In-depth interview questions, Group discussion questions, Participatory and non-participatory observation items, Brainstorming and reflective thinking and Knowledge and behavior questionnaire of using chemical pesticide. Data was analyzed by content analysis and frequency percentage.
Results: Most of the agriculturists were women, every one used pesticides 3-4 times a year, they were commitment with private tobacco company and, most of them are knowledgeable about chemicals at the high level. Behavior about using pesticides in before used, currently used and after used were at the high level. The model had 4 steps guideline to reducing pesticides contact of tobacco planting which were; 1) Seedling. 2) Tobacco care 3) Tobacco leaf harvesting and 4) Tobacco leaf packing. The results after implementation, it was found that most of the agriculturists followed the guidelines .However, The process is still tricky to implement and unsure of the effectiveness of the new guideline.
Conclusion: agriculturists are perceive of the impact from pesticide exposure and importance to avoid pesticides exposure. but are not confident about the effectiveness of this guideline.
References
เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. 2558. ปริมาณการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปี 2558 . (ระบบออนไลน์). [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558]. แหล่งข้อมูล: http://www.thaipan.org/info/stat. pdf
รณชัย โตสมภาค. 2558. ผลกระทบของสารเคมีการเกษตรต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค :แนวทางในการควบคุมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชเพื่อสร้างความมั่นคงทางสุขภาพของผู้ประกอบการภาคเกษตรกรรมและผู้บริโภค. (ระบบ ออนไลน์). [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2559]. แหล่งข้อมูล: http://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2558/hi2558-040.pdf.
สาคร ศรีมุข. 2556. ผลกระทบจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรของประเทศไทย. (ระบบออนไลน์). [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2559]. แหล่งข้อมูล: http://library.senate.go.th/document/Ext6409/6409657_0002. pdf
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. 2562.รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2561. (ระบบออนไลน์). [สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563].แหล่งข้อมูล: http://envocc.ddc.moph.go.th
เกษตรจังหวัดนครพนม. 2558. อาชีพการเกษตรของจังหวัดนครพนม. (ระบบออนไลน์). [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558]. แหล่งข้อมูล: http://www.nakhonphanom.go.th/nakhonphanom/nakhonphanom57.pdf
Street A. 1997. Participatory Action Research. (online). Data source, [Cited January 10, 2015]. Available from http://latrobe.academia.edu/Annette Street/Papers. pdf ( January 10,2015).
สิริภัณฑ์กัญญา เรืองไชย. ผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบในตำบลลำห้วยหลัว อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2554; 18: 48-60.
ณิชารีย์ ใจคำวัง. ผลกระทบทางสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพจากการใช้สารเคมีในการปลูกยาสูบของเกษตรกร ตำบลปากแคว อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย. วาสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2559; 4: 401-16.
สังวาล สมบูรณ์, สุภาพร ใจการุณ. การใช้สารกำจัดศัตรูชีวภาพเพื่อลดการใช้สารเคมีฆ่าแมลงในการผลิตพริก.วารสารการเกษตรราชภัฏ 2556; 10: 79-89.
ชนิกานต์ คุ้มนก, สุดารัตน์ พิมเสน. พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร 2557; 16: 56-67.
ธวัชชัย ยุบลเขต. การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรปลูกยาสูบจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา, 2553.
พิมพร ทองเมือง, ยุทธนา สุดเจริญ. พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรจังหวัดสมุทรสงคราม.บทความวิจัยการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6, 2558.
Gesesew HA, Woldemichael K, Massa D, Mwanri L. Farmers Knowledge, Attitudes, Practices and Health Problems Associated with Pesticide Use in Rural Irrigation Villages, Southwest Ethiopia. PloS one 2016;11: e0162527.
นัฐวุฒิ ไผ่ผาด, สมจิตต์ สุพรรณทัศน์, ธีรพัฒน์ สุทธิประภา. ผลการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารแก่นเกษตร 2557; 42: 301-10.
ปรียาพร ปานอุทัย. การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชผักของเกษตรกรอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. บทความวิจัยการจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 5.2558.
Khan M, Damalas CA. Occupational exposure to pesticides and resultant health problems among cotton farmers of Punjab, Pakistan. Int J Environ Health Res 2015; 25: 508- 21.
Okonya JS, Kroschel J. A cross-sectional study of pesticide use and knowledge of smallholder potato farmers in Uganda. Biomed Res Int 2015; 2015: 759049 .
วิทยา ตันอารีย์, สามารถ ใจเตี้ย. การประเมินผลกระทบสุขภาพจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรในการปลูกพืชไร่ เขตเทศบาลเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่. 2554.