Efficacy and Safety of Dispensing System by Pharmacy Robot and Handset Electronic Picking in Hospitalized Patients at Srinagarind Hospital

Authors

  • Piangpen Chanatepaporn

Keywords:

Pharmacy robot, Handset electronic picking, Robotic medicine, เครื่องจัดยาอัตโนมัติ, อิเล็กทรอนิกส์จัดมือ, หุ่นยนต์จัดยา

Abstract

ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบการจ่ายยาด้วยเครื่องจัดยาอัตโนมัติและอิเล็กทรอนิกส์จัดมือในผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์

เพียงเพ็ญ  ชนาเทพาพร

งานเภสัชกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หลักการและวัตถุประสงค์: โรงพยาบาลศรีนครินทร์นำเครื่องเทคโนโลยีมาช่วยจัดยาผู้ป่วยใน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการจ่ายยาโดยการใช้เครื่องจ่ายยาอัตโนมัติและอิเล็กทรอนิกส์จัดมือในผู้ป่วยใน

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยศึกษาปริมาณใบสั่ง ขนานยา  ระยะเวลารอคอย  และ ความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา  ก่อนและหลังลงระบบ โดยระบบดังกล่าวนำมาใช้สำหรับจัดยาของใบสั่งยาต่อเนื่อง และรายการยาเสพติดให้โทษประเภท 2 และยาวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภท 2 แต่ใบสั่งยาประเภทอื่นๆ ยังคงใช้วิธีจัดยาด้วยมือ โดยวิเคราะห์ในภาพรวมและจำแนกตามประเภทใบสั่งยา

ผลการศึกษา: ระยะเวลารอคอยโดยภาพรวมเฉลี่ยก่อนและหลังลงระบบเท่ากับ 15.9 นาที และ 15.5 นาทีต่อใบสั่งยา และไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ เมื่อจำแนกตามประเภทใบสั่งยา แม้ว่าระยะเวลารอคอยเฉลี่ยของใบสั่งยาต่อเนื่องเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.5 (0.7 vs. 0.8 นาที) และมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) แต่ระยะเวลารอคอยในขั้นตอนจัดยาไม่แตกต่างกัน แต่แตกต่างในขั้นตอนการตรวจสอบยาโดยเภสัชกรเนื่องจากมีรายการยาที่ใช้ต่อเนื่องเพิ่มขึ้น ร้อยละ 51.4 (666,888 vs. 1,009,667 ขนานยา) และมีการเปลี่ยนแปลงระบบการกระจายยาแบบ 3 วัน เป็น 1 วัน แต่สามารถลดระยะเวลาของพยาบาลในการเตรียมยาเป็นมื้อให้แก่ผู้ป่วย  ระยะเวลารอคอยของใบสั่งยาด่วนลดลงร้อยละ 14.4 (14.9 vs. 12.8 นาที) และมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) สำหรับใบสั่งยาประเภทอื่นๆ ไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อัตราความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยาลดลงร้อยละ 51.1 เมื่อวิเคราะห์ในหน่วยใบสั่งยา และลดลงร้อยละ 52.3 เมื่อวิเคราะห์ในหน่วยขนานยา และมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) โดยเฉพาะใบสั่งยาต่อเนื่องสามารถลดความคลาดเคลื่อนได้มากสุด (ร้อยละ 77)  ระดับความรุนแรงของความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา ระดับความรุนแรง B ลดลงร้อยละ 50.3 และ ระดับความรุนแรง C ลดลงร้อยละ 89.1 เมื่อวิเคราะห์ในหน่วยขนานยา

สรุป: การนำเครื่องจัดยาเม็ดอัตโนมัติและอิเล็กทรอนิกส์จัดมือมาช่วยในการจัดยาผู้ป่วยใน  ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของการบริการจ่ายยาผู้ป่วยใน  ลดความคลาดเคลื่อนการจ่ายยา ส่งผลให้ผู้ป่วยปลอดภัยในการใช้ยามากขึ้น

Background and Objective: The technology machines was used for filling the medicines for hospitalized patients at Srinagarind Hospital. The objective of this study was to evaluate efficacy and safety of dispensing system by pharmacy robot and handset electronic picking.

Methods: This  was a retrospective descriptive study. Drug prescriptions, dispensing items, waiting time, and dispensing errors were compared between before and after implementation of the robotic medicine and handset electronic picking for continued order items, narcotics and psychotropics category 2 items while other items were filled manually for hospitalized patients.

Results: Mean waiting time for overall prescriptions was not significantly different between pre- and post- intervention (15.9 vs. 15.5 minutes per prescription). The mean waiting time for continued order prescriptions significantly increased 21.5% (0.7 vs. 0.8 minutes per item). The increased waiting time for continued order items occurred in the process of pharmacist checking since the continued order items increased 51.4% in the post- intervention period (666,888 vs. 1,009,667 items) and drug distribution system was changed from three days dose to one day dose which led to decreasing time for nurse to prepare medications for patients. The mean waiting time for stat order item significantly decreased 14.4% (14.9 vs. 12.8 minutes per item). For other subtype of prescription, no significant change of waiting time was found. Dispensing error significantly decreased 51.1% of prescriptions or 52.3% of items. The largest decrease in dispensing error was found in continued order items (77% decreased). Dispensing errors with severity category B and C decreased 50.3% and 89.1% of items.      

Conclusions: Implementation of pharmacy robot and handset electronic picking of drug dispensing improved efficacy, dispensing errors, and patient safety for hospitalized patients.

References

วณีนุช วราชุน. ระบบการจัดการด้านยาในโรงพยาบาลคุณภาพ [Online]. [Accessed July 27, 2019]. Available from https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=309

กรัณฑ์รัตน์ ทิวถนอม, ศุภลักษณ์ ธนานนท์นิวาส. ความคลาดเคลื่อนทางยาและแนวทางป้องกันเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย. Veridian E-Journal 2552; 2: 196-7.

สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย). มาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาล พ.ศ. ๒๕๖๑ - พ.ศ. ๒๕๖๕ [Online].[Accessed July 27, 2019]. Available from http://www.thaihp.org/index.php?option=other_detail&lang=th&id=307&sub=-1

Rough SR, Temple JD. Automation in practice. In: Brown TR, ed. Handbook of institutional pharmacy practice. 4th ed. Bethesda, MD: American Society of Health-System Pharmacist, 2006: 329-52.

Fitzpatrick BR, Cooke P, Southall C, Kauldhar, Water P. Evaluation of an automated dispensing system in a hospital pharmacy dispensing. Pharm J. 2005; 274: 763-5.

National Coordinating Council for Medication Errors Reporting and Prevention. NCC MERP Taxonomy of Medication Errors [Online]. [Accessed August 6, 2019]. Available from http://www.nccmerp.org/sites/default/files/taxonomy2001-07-31.pdf

Goundrey-Smith S. Pharmacy robots in UK hospitals: the benefit and implementation issues. Pharm J 2008; 280: 599-602.

Temple J and Ludwig B. Implementation and evaluation of carousel dispensing technology in a university medical center pharmacy. Am J Health-Syst Pharm 2010; 67: 821-9.

Ong YSP, Chen LL, Wong JA, Gunawan Y, Goh WJ, Tan MC, Lee SB. Evaluating the Impact of Drug Dispensing Systems on the Safety and Efficiency in a Singapore Outpatient Pharmacy. Innov Pharm 2014; 5: 1-7.

วรรณอร ปลอดกระโทก, ฐณัฎฐา กิตติโสภี, รุ่งเพ็ชร์ สกุลบำรุงศิลป์, กมลศักดิ์ เรืองเจริญรุ่ง. การหาต้นทุนที่ประหยัดและต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้ของระบบจ่ายยาอัตโนมัติ. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล 2553; 20: 43-54.

Downloads

Published

2020-06-20

Issue

Section

Original Articles