The Effectiveness of Health Literacy Development Program in the First-Degree Relatives of Breast Cancer Patients on Breast Cancer-Preventive Behaviors

Authors

  • Sairung Prakobchit Faculty of Public Health, Mahasarakham University
  • Sumattana Glangkarn Faculty of Public Health, Mahasarakham University

Abstract

ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมในญาติ

สายตรงของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

สายรุ้ง ประกอบจิตร1, สุมัทนา กลางคาร2

1นิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

2คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หลักการและวัตถุประสงค์: มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุด และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของสตรีไทยมากเป็นอันดับ 3 การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตมีความสำคัญช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการป้องกันมะเร็งเต้านมในญาติสายตรงของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงทดลองอำพรางสองฝ่ายแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างคือญาติสายตรงของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับบริการที่โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี จำนวน 48 ราย อายุ 20- 65 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่ม (กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม) กลุ่มละ24 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำตามปกติ ใช้เวลาในการทดลอง 5 สัปดาห์

ผลการศึกษา: กลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ทางสุขภาพ ความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการป้องกันมะเร็งเต้านม และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และกลุ่มทดลองจัดการความเครียดดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)

สรุป: โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารถพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการป้องกันมะเร็งเต้านม พฤติกรรมการป้องกันการมะเร็งเต้านม และเพิ่มทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ดีขึ้น

 

คำสำคัญ: โปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพ; พฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านม; ญาติสายตรงของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

 

Background and Objectives: Breast cancer is the most common invasive cancer and it is the third leading cause of cancer deaths among women in Thailand. Lifestyle changes are shown to be important in the prevention of breast cancer. This study aimed to study the effectiveness of program for health literacy development of the first-degree relative of breast cancer patient.

Methods: This study is a double blind randomized controlled trial, with two groups’ pretest-posttest control group design. The study was conducted among the first-degree relatives of breast cancer patients attending the Ubon Ratchathani Cancer Hospital. The 48 samples aged between 20-65 years old were randomly assigned to 2 groups which consisted of 24 samples for each group. The experimental group participated in the effectiveness of program for health literacy development of the first-degree relatives of breast cancer patients on breast cancer preventive behaviors, controlled group received routine care. The study was conducted over a period of 5 weeks.

Result: The result of participating in the health literacy program had been found that the experimental group had mean score of health literacy, health literacy in breast cancer prevention, breast cancer prevention behavior and breast self-examination skill higher more than the control group significantly (p < 0.05). The posttest of experimental group has managed stress better than the control group significantly (p < 0.05).

Conclusion: This program able to development for health literacy and behavior in breast cancer prevention and improving breast self-examination skills.

 

Keyword: Health literacy Development; Breast cancer preventive behaviors; First degree relative of breast cancer patient

Downloads

Published

2021-01-22

Issue

Section

Original Articles