ผลของการจัดประสบการณ์ตามแนวทาง EF Guideline ต่อทักษะการคิดเชิงบริหาร ของเด็กปฐมวัย : กรณีศึกษาสถานอนามัยเด็กกลาง

ทักษะการคิดเชิงบริหาร เด็กปฐมวัย การจัดประสบการณ์เรียนรู้ EF Guideline

ผู้แต่ง

  • ไพลิน วิญญกูล สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พัชรินทร์ เสรี สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปนัดดา ธนเศรษฐกร สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ทักษะการคิดเชิงบริหาร, เด็กปฐมวัย, การจัดประสบการณ์เรียนรู้, EF Guideline

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดประสบการณ์ตามแนวทาง EF Guideline ต่อทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัยของสถานอนามัยเด็กกลาง รูปแบบการศึกษาเป็นแบบกึ่งทดลอง ประเมินผลทักษะการคิดเชิงบริหาร 3 ด้าน คือ 1) ด้านการยับยั้งพฤติกรรม 2) ด้านการยืดหยุ่นความคิด 3) ด้านความจำขณะทำงานก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 2-4 ปี จำนวน 45 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 23 คน กลุ่มควบคุม 22 คน กลุ่มทดลองได้รับการจัดประสบการณ์เรียนการสอนที่เขียนขึ้นตามแนวทางของ EF Guideline เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1. แบบประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร (EF) ในเด็กวัยก่อนเรียน (แบบ MU.EF-101) 2. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของเด็กปฐมวัย 3. EF Guideline เก็บรวมรวมข้อมูล โดยการประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร (EF) ของเด็กทั้ง 2 กลุ่มโดยครูผู้ดูแลเด็ก หลังผ่านไป 12 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า เด็กในกลุ่มทดลองมีทักษะการคิดเชิงบริหารสูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<.05) ทั้ง 3 ด้านด้วยสถิติ Wilcoxon Matched Pairs Singed - Ranks Test และเด็กในกลุ่มทดลอง มีทักษะการคิดเชิงบริหารได้รับการจัดประสบการณ์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<.05) ทั้ง 3 ด้านด้วยสถิติ MANCOVA

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)