การพัฒนารูปแบบ ตลาดสด (ประเภท 1) บนฐานวิถีชีวิตใหม่

ผู้แต่ง

  • อัมพร จันทวิบูลย์ สำนักคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรมอนามัย
  • ชัยเลิศ กิ่งแก้วเจริญชัย สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย
  • ประภัสสร ผลวงษ์ เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี
  • ศิริวรรณ ลิมปรังษี เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี
  • นันทิยาณี แก้วเรือง เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

ตลาดสด, รูปแบบตลาดสดบนฐานวิถีชีวิตใหม่, การลดการแพร่ระบาดของโควิด 19, การพํฒนารูปแบบ, การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

บทคัดย่อ

การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา สถานการณ์ และความเสี่ยง การแพร่ระบาดของโควิด 19 ของ “ตลาดสด (ประเภท 1)” ในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี, พัฒนารูปแบบ “ตลาดสด (ประเภท 1) บนฐานวิถีชีวิตใหม่” ในการป้องกันและควบคุมโควิด 19 ที่สอดคล้องกับบริบท และวิถีชีวิตของประชาชนและเพื่อประเมินผลลัพธ์ของการพัฒนารูปแบบ “ตลาดสด (ประเภท 1) บนฐานวิถีชีวิตใหม่” ดำเนินการในพื้นที่เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี เป็น 4 ระยะ คือ การทบทวน วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูล, การวางแผนปฏิบัติการพัฒนารูปแบบ “ตลาดสด” แบบมีส่วนร่วม, การปฏิบัติการตามแผน และการประเมินผลลัพธ์ของการปฏิบัติการและการสะท้อนกลับให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ พบว่า มีความเสี่ยงต่อโควิด 19 อยู่หลายด้าน ทั้งเรื่องสภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของตลาดที่แออัดและขาดสุขลักษณะ พฤติกรรมของผู้ที่เกี่ยวข้องกับตลาด คือ ผู้ขาย ผู้ซื้อ และคนที่ทำงานในตลาด รวมทั้งด้านการบริหารจัดการตลาด ยังมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโควิด 19 ได้นำสภาพปัญหาดังกล่าว ไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนด รูปแบบตลาดสดที่จะลดความเสียงต่อโควิด 19 โดยพัฒนาเป็น 3 ด้าน คือ (1) ด้านโครงสร้างและระบบสาธารณูปโภค (2) ด้านการบริหารจัดการและการกำกับดูแลกิจการตลาดสด และ (3) ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ภาคีเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องกับตลาดและประชาชน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ ยังไม่พบการระบาดของโควิด 19 ในตลาดสดที่ดำเนินการในพื้นที่ทั้ง 7 แห่ง สามารถเปิดบริการได้ตลอดมา ผู้ที่เกี่ยวข้องกับตลาดสดทุกฝ่ายมีความพึงพอใจมากต่อผลที่เกิดขึ้น และรู้สึกภูมิใจในการมีส่วนร่วมในการป้องกันการระบาดของโควิด 19 ในตลาดได้ รูปแบบการควบคุมโควิด 19 ของตลาดสดนี้ สามารถใช้เป็นต้นแบบให้ ตลาดสด ประเภท 1 ในที่อื่นๆ นำไปประยุกต์/ใช้ในการดำเนินการพัฒนาได้ รวมทั้งสามารถขยายผลไปยังตลาดสด ประเภท 2 (แบบไม่มีโครงสร้างถาวร) ได้อย่างสอดคล้องตามสภาพปัญหา บริบท และวิถีชีวิตของประชาชน ในแต่ละพื้นที่ เสนอให้นำรูปแบบนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนามาตรฐานตลาดสด เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในประเทศไทยต่อไป

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-11-26

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)