ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศในครัวเรือนในพื้นที่ เขตเมืองและเขตชนบท กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • กรวิภา ปุนณศิริ กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย
  • อำพร บุศรังษี ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข กรมอนามัย
  • เบญจวรรณ ธวัชสุภา กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย
  • ทิพย์กมล ภูมิพันธ์ กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย
  • ณัฎฐกานต์ ฉัตรวิไล กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย
  • ณัฏฐา ฐานีพานิชสกุล วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

คุณภาพอากาศในครัวเรือน, พื้นที่เมือง พื้นที่ชนบท, ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพอากาศ

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพอากาศในครัวเรือนในพื้นที่เขตเมืองและเขตชนบท รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศในครัวเรือน ศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2563 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครัวเรือนในเขตเมือง 20 หลังคาเรือนและเขตชนบท 10 หลังคาเรือน รวม 30 หลังคาเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เครื่องตรวจวัดก๊าซและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (จำนวน ร้อยละ) และเชิงความสัมพันธ์ด้วย Spearman’s rank และ Stepwise linear regression ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยของคุณภาพอากาศในครัวเรือนในพื้นที่เมืองและชนบท ได้แก่ อุณหภูมิ 33.41±0.37 และ 30.04±0.34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 67.93±1.44 และ 70.54±1.60 เปอร์เซ็นต์ ฟอร์มาดีไฮด์ (CH2O) 10.50±2.32 และ 10.63±3.75 พีพีบี ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) 0.67±0.56 และ 6.48±4.65 พีพีบี คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) 0.10±0.03 และ 0.13±0.05 พีพีเอ็ม คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 224.34±32.15 และ 220.63±15.43 พีพีเอ็ม สารอินทรีย์ระเหยง่าย รวม (TVOCs) 930.38±53.27 และ 705.77±53.22 พีพีเอ็ม และฝุ่นละอองขนาดเล็ก ได้แก่ PM2.5 22.53±2.22 และ20.01±1.48 และ PM10 75.37±5.54 และ 92.49±12.82 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แบคทีเรียรวม 358.66±59.45 และ 810.40±106.41 CFU/m3 เชื้อรา 132.83±52.75 และ 237.6± 52.19 CFU/m3 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพอากาศในครัวเรือนระหว่างเขตชนบทและเขตเมือง พบว่า ค่าความเข้มข้นของ TVOCs มีความแตกต่างกันทั้ง 2 พื้นที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ยังพบวา่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธแ์ ละฝุน่ ละอองขนาดเล็กทั้ง PM10 และ PM2.5 แบคทีเรียรวมและเชื้อรา มีค่าเกินค่าแนะนำฯ และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ และปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศในครัวเรือน พบว่า การใช้นํ้ายาทำความสะอาดบ้าน มีความสัมพันธ์กับ TVOCs และการเปิดหน้าต่างมีความสัมพันธ์กับ PM10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น ควรสร้างความรู้ ความตระหนักของประชาชนถึงอันตรายต่อสุขภาพเพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม โดยเฉพาะพฤติกรรมการใช้น้ำยาทำความสะอาดในครัวเรือน การลดปริมาณฝุ่นละอองที่เข้ามาภายในครัวเรือน และการระบายอากาศ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดค่าเฝ้าระวังหรือแนวทางการจัดการคุณภาพอากาศภายในครัวเรือน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนต่อไป

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-03-15

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)