พฤติกรรมการป้องกันตนเองและผลกระทบ ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ต่อครอบครัวผู้ติดเชื้อในเขตพื้นที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • วันฉัตร ชินสุวาเทย์ โรงพยาบาลบางจาก จังหวัดสมุทรปราการ

คำสำคัญ:

โควิด 19, ความรู้, พฤติกรรม, ผลกระทบ, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ครอบครัวผู้ติดเชื้อ

บทคัดย่อ

การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง การศึกษาแบบผสมผสานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจความรู้และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ใน 4 มิติ ประกอบด้วย ด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ เศรษฐกิจ และสังคม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่มีประวัติเคยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทุกรายที่ได้รับการรักษาจนหายป่วยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 – 16 เมษายน พ.ศ. 2564 และตัวแทนจากครอบครัวของผู้ติดเชื้อ 1 คนต่อครอบครัว ในเขตพื้นที่ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีผู้ยินยอมเข้าร่วมวิจัยทั้งสิ้น 44 ครอบครัว จำนวน 88 คน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์แบบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมผู้เข้าร่วมวิจัยมีความรู้เกี่ยวกับโรคโควิค 19 อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 95.5 พฤติกรรมการป้องกันตนเองอยู่ในระดับดี ร้อยละ 69.3 อยู่ในระดับดีมากร้อยละ 17.1 แต่สาเหตุที่ยังมีการติดเชื้ออยู่อาจเกิดจากพฤติกรรมบางอย่างที่ยังปฏิบัติตามได้ไม่ดีเท่าที่ควร ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับผลกระทบโรคโควิด 19 ใน 4 มิติ พบว่า 1) ด้านสุขภาพกาย กระบวนการเปลี่ยนแปลงระบบบริการในโรงพยาบาลส่งผลให้กลุ่มโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่โควิด 19 ได้รับผลกระทบไปด้วย 2) ด้านสุขภาพจิตใจ ความหวาดกลัวทำให้เกิดภาวะเครียดในการดำเนินชีวิต 3) ด้านเศรษฐกิจ เกิดการขาดงานสูญเสียรายได้ 4) ด้านสังคม มาตรการต่างๆ ของภาครัฐส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินชีวิต ปัญหาทั้ง 4 มิติมีความเชื่อมโยงกัน การแก้ปัญหาจำเป็นต้องแก้ทุกมิติพร้อมกันเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-03-15

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)