ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานขับเคลื่อนการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ของคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับจังหวัดและกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ปติมา หิริสัจจะ สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย

คำสำคัญ:

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น, พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559, คณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับจังหวัดและกรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับจังหวัด และกรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลกับคณะอนุกรรมการฯ จำนวน 62 จังหวัด โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จังหวัดที่มีการดำเนินการผ่านเกณฑ์ 44 จังหวัด กลุ่มที่ 2 จังหวัดที่ดำเนินการไม่ผ่านเกณฑ์ 18 จังหวัด ระหว่างเดือนมีนาคม-สิงหาคม พ.ศ.2563 โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square test ในการหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษา พบว่า มีเพียงปัจจัยด้านฐานข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานขับเคลื่อนการป้องกันและการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) นอกจากนี้ควรมีการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 ให้แก่คณะอนุกรรมการฯ ทุกคน ตลอดจนควรมีการพัฒนาฐานข้อมูลเกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่สามารถสะท้อนปัญหาได้ในทุกระบบ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-03-08

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)