ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของผู้ประกอบการร้านค้า วัยทำงาน หมู่ที่ 7 ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, ผู้ประกอบการร้านค้า, วัยทำงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนาเชิงความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของผู้ประกอบการร้านค้าวัยทำงาน หมู่ที่ 7 ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการร้านค้าวัยทำงาน จำนวน 127 คน เริ่มดำเนินการวิจัยตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 รวมเป็นระยะเวลา 6 เดือน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผูท้ รงคุณวุฒิ และหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาได้ 0.75-0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าไค-สแควร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 65.10 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 38.70 ปี (SD=8.66) ร้อยละ 64.70 มีสถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 55.60 มีการศึกษาระดับตํ่ากว่าปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 19,283 บาท (SD=10,676.76) ร้อยละ 83.60 ไม่มีโรคประจำตัว จำนวนชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์เฉลี่ย 8 ชั่วโมง (SD=11.95) ร้อยละ 58.70 มีการทำงานในเวลาปกติ (เช้าไป-เย็นกลับ) และระยะเวลาการปฏิบัติงานเฉลี่ย 14.50 ปี (SD=9.39) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริม ได้แก่ รายได้ (r=0.362, p=0.006) การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ(r=0.395, p<0.01) การรับรู้สมรรถนะของตนเอง (r=0.464, p<0.01) ผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของผู้ประกอบการร้านค้าวัยทำงาน หมู่ที่ 7 ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการต่อไป
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2021 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.