ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาระในการดูแล การสนับสนุนทางสังคม และความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน
คำสำคัญ:
ภาระในการดูแล, การสนับสนุนทางสังคม, ความเครียด, ผู้ดูแลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาระในการดูแล การสนับสนุนทางสังคม กับความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน ที่มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป ที่พักอาศัยในพื้นที่เขตบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดไทร โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการคำนวณหาค่าขนาดอิทธิพลเพื่อใช้ใน Power Analysis ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 183 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบวัดภาระในการดูแลแบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินระดับความเครียด และหาค่าความเชื่อมั่นเครื่องมือได้ .93 .92 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า ภาระในการดูแลโดยรวมและความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง การสนับสนุนทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับสูง และภาระในการดูแลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.640) และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.334) ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการลดความเครียดของผู้ดูแล โดยให้ข้อมูลที่ถูกต้องหรือแนะนำแหล่งให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ดูแล เพื่อให้ผู้ดูแลมีความเครียดลดลงส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลและคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ดีขึ้น
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2021 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.