การพัฒนาเกณฑ์ประเมินรับรององค์กรและชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของประชาชนจากผลกระทบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

ผู้แต่ง

  • วิมล โรมา สำนักคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรมอนามัย
  • มุกดา สำนวนกลาง นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

องค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ, ชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยพัฒนา มีวัตถุประสงค์ พัฒนาเกณฑ์การประเมินเพื่อการรับรองคุณภาพองค์กร และชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพประเทศไทย ประชากร คือ องค์กร และชุมชนที่มีการดำเนินงานตามแนวทางพัฒนาองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง ถอดบทเรียน คัดเลือกแบบเจาะจงตามความสมัครใจ จำแนกตาม setting ประกอบด้วย หน่วยบริการสาธารณสุข โรงเรียน สถานประกอบการ และชุมชน รวม 8 แห่ง กลุ่มตัวอย่างทดลองใช้เกณฑ์ คัดเลือกแบบเจาะจง จาก หน่วยบริการสาธารณสุข โรงเรียน สถานประกอบการ และชุมชน ประกอบด้วย ผู้บริหาร แกนนำองค์กร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้รับบริการ หน่วยละ 10-12 คน รวมทั้งสิ้น 85 คน วิธีการดำเนินงานประกอบด้วย 1) การพัฒนาเกณฑ์การประเมินเพื่อการรับรองคุณภาพองค์กรและชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ ประเทศไทย ด้วยการทบทวนองค์ความรู้ต่างประเทศและในประเทศเกี่ยวกับเกณฑ์ประเมินอย่างเป็นระบบด้วยวิธี meta-analysis และถอดบทเรียนองค์กร และชุมชนที่มีการดำเนินงานตามแนวทางพัฒนาองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ 2) กระบวนการตรวจสอบ (verify) คุณภาพ เกณฑ์การประเมินเพื่อการรับรองคุณภาพองค์กรและชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ) 3) การทดลองใช้เกณฑ์การประเมินเพื่อการรับรองคุณภาพองค์กรและชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ 4)การปรับเกณฑ์ประเมินรับรององค์กรและชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ 5) เผยแพร่และขยายผลการใช้เกณฑ์การประเมินเพื่อการรับรองคุณภาพองค์กรและชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ ผลการศึกษา ได้เกณฑ์ประเมินรับรององค์กรและชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ 4 setting และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเป็นองค์กรและชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คนมารับบริการและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ คือมีทักษะจัดการข้อมูลสุขภาพ และเข้าถึงบริการ จนสามารถดูแลจัดการสุขภาพของตนเองได้ ในปี 2565 มีโรงพยาบาลนำเกณฑ์ไปใช้พัฒนา5,000 แห่ง ประเมินตนเองผ่านเกณฑ์ 1,200แห่ง และมีโรงพยาบาลรอบรู้ด้านสุขภาพและชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพต้นแบบที่ผ่านการประเมินโดยคณะกรรมการ ระดับเขต 13 แห่ง ข้อเสนอแนะ ผลักดันให้มีนโยบายการนำเกณฑ์ไปใช้พัฒนาและขยายผลอย่างต่อเนื่อง

ไฟล์เพิ่มเติม

เผยแพร่แล้ว

2023-02-22

ฉบับ

บท

Review Article (บทความปริทัศน์)