การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดตอตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กรณีศึกษาอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ธานี นามม่วง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ชายแดนไทย – กัมพูชา, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการรูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชาของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กรณีศึกษาอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อตามแนวชายแดนไทย–กัมพูชาของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กรณีศึกษาอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชาของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กรณีศึกษาอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ มีรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมวิจัย เป็นการศึกษาจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำนวน 148 คน ขนาดกลุ่มตัวอย่าง ใช้เกณฑ์ ร้อยละ 15 เป็นการสุ่มอย่างง่าย บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 22 คน และ ผู้นำชุมชน/ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบล/กำนัน/ ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 24 คนเป็นการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบภาษณ์แบบเจาะลึก แบบสนทนากลุ่มและแผนการการพัฒนา การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจง ความถี่ ค่าร้อยละ การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 62.17 มีทัศนคติในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ในชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง มีการปฏิบัติในการดำเนินงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ55.41 มีส่วนร่วมในอยู่ในระดับมากทุกด้าน ปัจจัยที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลางผลการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชาของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีข้อสรุปถึงรูปแบบที่เหมาะสม ประกอบด้วย 1) ด้านการจัดทำแผนกลยุทธเพื่อการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความมั่นใจ และความตระหนักในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา 2) ด้านการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักเกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อตามแนวชายแดน ไทย–กัมพูชาของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างต่อเนื่องร่วมกับการมี อสม.พี่เลี้ยง หรือ อสม.บัดดี้ 3) ด้านการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย 4) ด้านการสื่อสารและนิเทศติดตามกำกับและคืนข้อมูลสู่ชุมชน จากผลการประเมินการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อตามแนวชายแดน ไทย – กัมพูชาของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยการเปรียบเทียบ คะแนนเฉลี่ย ความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติในการดำเนินงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคติดต่อในชุมชน ระหว่าง ก่อน และหลังการพัฒนา คะแนนเฉลี่ย หลังการพัฒนา สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-06

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)