รูปแบบการจัดการประปาหมู่บ้านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ได้มาตรฐานน้ำบริโภค
คำสำคัญ:
การจัดการระบบประปาหมู่บ้าน, คุณภาพระบบประปาหมู่บ้าน, น้ำประปาดื่มได้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการประปาหมู่บ้านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ได้มาตรฐานน้ำบริโภคและประเมินผลการดำเนินการตามรูปแบบฯกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้รับผิดชอบงานพัฒนาระบบประปาและพนักงานหรือผู้ดูแลระบบประปาหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับอำเภอ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ 1) กลุ่มที่ใช้ในการพัฒนากระบวนการเพื่อถอดบทเรียนในการจัดการระบบประปาได้มาตรฐานน้ำประปาดื่มได้ 2 แห่งจำนวน 8 คน 2) กลุ่มที่ใช้ทดลองปฏิบัติการและเก็บรวบรวมข้อมูล 5 พื้นที่จำนวน 35 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม แบบสังเกต แบบประเมินความพึงพอใจ แบบประเมินระบบประปาหมู่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการจัดหมวดหมู่และวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ ค่าจำนวน ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการศึกษาระหว่างเดือนมีนาคม 2565 ถึงเดือนกรกฎาคม 2566 ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการ Kemmis and Mc Taggart (PAOR) ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการจัดการประปาหมู่บ้านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ได้มาตรฐานน้ำบริโภค ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่ 1) การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการจัดการระบบประปาและแนวทางการแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้เกี่ยวข้อง 2) การประเมินตนเอง 3) การติดตามประเมินผลในพื้นที่เพื่อรับทราบปัญหาอุปสรรคและหาแนวทางแก้ไข 4) การประเมินรับรองมาตรฐานประปาหมู่บ้าน ผลการประเมินใช้รูปแบบนี้ ทำให้มีประปาหมู่บ้านผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภค 7 แห่ง แสดงให้เห็นว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นจะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดการระบบประปาหมู่บ้านให้ได้มารฐานน้ำบริโภคได้
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.