การพัฒนาเครื่องมือและโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัล ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของสตรีวัยเจริญพันธุ์ : การวิจัยผสานวิธี

ผู้แต่ง

  • กิรณา เทวอักษร สำนักอนำมัยกำรเจริญพันธุ์ กรมอนำมัย

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, อนามัยสิ่งแวดล้อม, ความรอบรู้ทางดิจิทัล, พฤติกรรม, สตรีวัยเจริญพันธุ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1)  ศึกษาสถานการณ์ปัญหาของความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของสตรีวัยเจริญพันธุ์ ด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ และ 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องมือและโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัล โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน  เริ่มต้นด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบด้วยเทคนิค PICO วิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัยด้วยคำสำคัญจนได้งานวิจัยที่ถูกสืบค้นทั้งสิ้น 31,982 เรื่อง ผ่านการสังเคราะห์ทั้งสิ้น 9 เรื่อง แล้วใช้วิธีวิจัยเชิงทดลองกับกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ 26 คนเท่ากัน เก็บข้อมูลด้วย 1) แบบประเมินความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัล 2) แบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ และ 3) โปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัล ผลการศึกษาพบว่า 1) โปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัล ควรเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการประกอบสื่อการเรียนรู้เสริมทักษะ 5 ด้าน คือ  (1) ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัล (2) ทักษะการใช้แหล่งข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัล (3) ทักษะการสนับสนุนทางสังคมและเครือข่าย (4) การติดตามพฤติกรรมและข้อเสนอแนะ (5) การประเมินและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 2) การวัดความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัล วัดได้จาก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การเข้าถึงข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม (2) การเข้าใจข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม (3) การประเมินข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม (4) การประยุกต์ใช้ข้อมูลอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยผลการวิจัยพบว่าสตรีวัยเจริญพันธุ์มีความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัลและพฤติกรรมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2025-02-19

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)