การประเมินระบบเทคโนโลยีส่งเสริมสุขภาพโครงการก้าวท้าใจ

ผู้แต่ง

  • สุพิชชา วงค์จันทร์ กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย
  • ชลพันธ์ ปิยถาวรอนันต์ กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย
  • ณัฐนันท์ แซมเพชร กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย

คำสำคัญ:

การประเมิน, ระบบเทคโนโลยีส่งเสริมสุขภาพ, โครงการก้าวท้าใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม/บริบท ปัจจัยนำเข้า/ทรัพยากร กระบวนการดำเนินงาน ผลผลิต และปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติการ และผู้เชี่ยวชาญด้านออกกำลังกายรวม 27 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และเก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามจากบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน 436 คน กลุ่มผู้เข้าร่วม 745 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และ t-test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเจ้าที่ผู้ปฏิบัติในโครงการและกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการก้าวท้าใจ โดยภาพรวม และรายด้าน ได้แก่สภาพแวดล้อม/บริบท ปัจจัยนำเข้า/ทรัพยากร กระบวนการดำเนินงาน ผลผลิตอยู่ในระดับมากทั้งหมด และมีคะแนนมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 75 ( x̄= 3.75) และเป็นโครงการที่สอดคล้องกับบริบททางสังคมและความพร้อมของประชาชนในปัจจุบันจึงได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายเป็นอย่างดี ผู้บริหารเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ประสบความสำเร็จ กิจกรรมการออกกำลังกายมีความเหมาะสม ควรมีกลไกในการกระตุ้นให้มีการส่งผลออกกำลังกายมากขึ้น การสมัครในช่วงแรกค่อนข้างทำได้ยาก การใช้เลขบัตรประชาชนทำให้ไม่สบายใจ การให้รางวัลเป็นการกระตุ้นเป็นอย่างดี โครงการมีความคุ้มค่ากับงบประมาณที่ลงทุนไป แต่ยังขาดการสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในชุมชน และปัจจัยที่มีผลสำเร็จของโครงการของบุคคลากรมากที่สุด คือ การประชาสัมพันธ์ ส่วนปัจจัยความสำเร็จของประชากรที่เข้าร่วมโครงการมากที่สุด คือ การใช้รางวัลจูงใจ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-09-05

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)