คุณภาพน้ำฝน ทัศนคติ และพฤติกรรมในการใช้น้ำฝนเพื่อบริโภคของประชาชนจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
คุณภาพน้ำฝน, ทัศนคติ, พฤติกรรม, การบริโภคน้ำฝนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง (Analytical cross sectional study) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำฝน ทัศนคติ พฤติกรรมการบริโภคน้ำฝนของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา และหาความ สัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลกับการตัดสินใจดื่มน้ำฝน ดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำฝนกลางหาว จำนวน 32 ตัวอย่าง โดยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครเครือข่ายของกรมอุตุนิยมวิทยา ส่งตรวจวิเคราะห์ที่กองห้องปฏิบัติการสาธารณสุขกรมอนามัย ตามเกณฑ์คุณภาพน้ำบริโภค และสุ่มตัวอย่างประชากรจากครัวเรือนทุกอำเภอๆ ละ 30 ครัวเรือนๆ ละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 960 คน ผลการศึกษา คุณภาพน้ำฝน พบว่า ไม่มีตัวอย่างใดได้มาตรฐานครบทุกด้าน โดยด้านแบคทีเรียไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานถึง ร้อยละ 100 ด้านคุณสมบัติที่ดี พบว่า ด้านเคมีทั่วไปผ่านมาตรฐาน ร้อยละ 100 และด้านกายภาพ ผ่านมาตรฐาน ร้อยละ 48.39 และมีตัวอย่างน้ำฝนที่ตรวจพบโลหะหนักที่เป็นพิษไม่ผ่านมาตรฐาน ซึ่งไม่ควรนำมาบริโภค ร้อยละ 6.45 และพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ยังคงดื่มน้ำฝนที่รองรับกักเก็บไว้ที่บ้าน มีเพียงร้อยละ 23.02 สาเหตุที่ไม่ดื่มน้ำฝน พบว่า ส่วนใหญ่กลัวน้ำฝนไม่สะอาด ร้อยละ 58.49 สำหรับความคิดเห็นต่อคุณภาพและการบริโภคน้ำฝน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าเขม่าควันจากโรงงานอุตสาหกรรม/การเผาขยะ หรือการจราจร อาจเป็นสาเหตุทำให้น้ำฝนสกปรก ร้อยละ 44.9 และสำหรับพฤติกรรมในการรองรับกักเก็บ การบริโภคและใช้ประโยชน์น้ำฝน พบว่า พฤติกรรมการปิดปากภาชนะกักเก็บน้ำฝนด้วยอุปกรณ์ที่ป้องกันแมลง/สัตว์เข้าไปได้ เป็นพฤติกรรมที่มีการปฏิบัติทุกครั้งมากที่สุด ร้อยละ 56.7 และปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ อาชีพ การศึกษา และรายได้ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจดื่มน้ำฝนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.05) ข้อเสนอแนะสำหรับพื้นที่วิจัย ข้อมูลที่ได้นำไปใช้ประโยชน์สำหรับเป็นฐานข้อมูลสำหรับอ้างอิงในพื้นที่ และนำไปใช้วางแผนเพื่อส่งเสริมการบริโภคน้ำฝนต่อไป โดยเฉพาะพื้นที่ที่ประชาชนยังใช้น้ำฝนเพื่อการบริโภค ในกรณีที่ผลการตรวจคุณภาพน้ำฝนผ่านเกณฑ์มาตรฐานทางด้านเคมี โดยการปรับปรุงด้วยวิธีง่ายๆ เช่น กรองด้วยเครื่องกรอง ต้ม หรือเติมคลอรีน เป็นต้น เพื่อให้สามารถนำมาบริโภคได้
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.