การพัฒนารูปแบบชุมชนตามแนวคิดเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุด้วยไตรภาคี

ผู้แต่ง

  • จันทร์ฉาย วรรณศรี สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย
  • อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • อดิศักดิ์ นุชมี วิทยาลัยศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • กัลยาณี เจริญช่าง นุชมี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • บัณฑิต วิริยะวัฒนะ สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย
  • เยาวลักษณ์ พิพัฒน์จำเริญกุล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

เมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ, ไตรภาคี, การพัฒนารูปแบบชุมชน, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่าในปี 2576 ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงอายุระดับ สุดยอด” คือมีสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในอัตราร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด การเตรียมรับ สถานการณ์ดังกล่าวได้นำกรอบแนวคิดขององค์การอนามัยโลก (WHO) มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ พื้นที่การวิจัยครั้งนี้คือเขตทุ่งครุ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการในด้านการพัฒนาชุมชนตามแนวคิดเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุด้วยไตรภาคี 2) พัฒนารูปแบบชุมชนตามแนวคิดเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุด้วยไตรภาคี 3) ศึกษาผลการเรียนรู้จากการใช้รูปแบบชุมชนตามแนวคิดเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุด้วยไตรภาคี 4) ศึกษาความพึงพอใจจากการใช้รูปแบบชุมชนตามแนวคิดเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุด้วยไตรภาคี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตทุ่งครุ จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นตัวแทนภาคราชการ ภาคประชาชนภาคศาสนา จำนวน 7 คน และผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ร้อยละ 52.03 คิดว่าการมีกิจกรรมทั้ง 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การมีส่วนร่วมเชิงสังคม การบริการชุมชนและการบริการสุขภาพ และการสื่อสารและการให้ข้อมูลสารสนเทศ จะนำไปสู่เมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ 2. รูปแบบชุมชนตามแนวคิดเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุด้วยไตรภาคี บริบทพื้นที่ทุ่งครุ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) การมีส่วนร่วมเชิงสังคม 2) บริการชุมชนและสุขภาพ 3) การสื่อสารและสารสนเทศ และ 2 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อม และด้านกิจกรรม ภายใต้แนวคิดการมีศาสนสถานเป็นศูนย์กลางของชุมชน 3. คะแนนทดสอบเพื่อประเมินผลการเรียนรูก้ อ่ นและหลังเขา้ รว่ มกิจกรรมของผูสู้งอายุมีความแตกตา่ งกันโดยมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ซึ่งแปลผลได้ว่าผู้สูงอายุมีความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดขององค์ประกอบการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุบริบทพื้นที่ทุ่งครุเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสำคัญทางสถิติที่ .05 4. ภาพรวมร้อยละความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 95.37 โดยด้านสภาพแวดล้อม มีความพึงพอใจมากที่สุด ร้อยละ 95.43 ข้อเสนอแนะควรศึกษาเพิ่มเติมบางประเด็นที่เป็นองค์ประกอบย่อยขององค์ประกอบใหญ่ 3 ด้านในการพัฒนาชุมชนตามแนวคิดเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-09-05

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)