ปริมาณการบริโภคเกลือและโซเดียมจากการประเมินปริมาณ โซเดียมในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง: การศึกษาภาคตัดขวางจังหวัดพัทลุง ปี 2565

ผู้แต่ง

  • หทัยทิพย์ จุทอง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
  • สุภนิดา เรืองประดับ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
  • ธัญญาภรณ์ เรืองสุวรรณ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

เกลือโซเดียม, ปัสสาวะ 24 ชั่วโมง, จังหวัดพัทลุง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อประมาณการค่าเฉลี่ยการบริโภคเกลือโซเดียมต่อวัน และศึกษาคุณลักษณะประชากรที่สัมพันธ์กับการประมาณการค่าเฉลี่ยการบริโภคเกลือโซเดียม สุ่มตัวอย่างแบบ Stratified Two Stage Cluster Sampling 300 ราย การตรวจทางห้องปฏิบัติการตรวจหาปริมาณโซเดียมในปัสสาวะโดยวิธี Indirect ion selective electrode (Indirect ISE) พื้นที่ศึกษา จังหวัดพัทลุง จำนวน 11 อำเภอ ระยะเวลาเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2565 สถิติที่ใช้ คือ ค่าสัดส่วน และ 95% CI of proportion ปริมาณการบริโภคโซเดียมต่อวัน สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย 95% CI of Mean ส่วนสถิติวิเคราะห์ปัจจัยความสัมพันธ์วิเคราะห์ด้วย General linear model ผลการศึกษาพบว่า บริโภคเกลือโซเดียมเฉลี่ย 4,880 มิลลิกรัมต่อวัน ปริมาณบริโภคเกลือเฉลี่ย 12.4 กรัมต่อวัน ปัจจัยด้านสถานภาพพบว่า ปริมาณการบริโภคเกลือโซเดียมต่อวันเพศชายมากกว่าเพศหญิง ค่าเฉลี่ย 5,344 มิลลิกรัมต่อวัน ปัจจัยด้านสถานภาพที่พบการบริโภคเกลือโซเดียมที่สูงมาก ได้แก่ เพศชาย กลุ่มอายุ 20-29 ปี สถานภาพโสด อยู่กับครอบครัสมาชิกน้อยกว่า 5 คน นักเรียน นักศึกษา รับจ้างแบกหามกรรมกร ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 kg/m² ไม่มีภาวะความดันโลหิตสูง และไม่มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน การวิเคราะห์แบบ General linear Model ไม่พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคเกลือโซเดียมมากกว่า 2,000 มิลลิกรัม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากข้อมูลข้างต้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการให้ชุมชนจังหวัดพัทลุงลดการบริโภคเกลือโซเดียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่มีปริมาณการบริโภคที่สูงมาก โดยใช้มาตรการปรับเปลี่ยนรายการอาหารและการปรุงรส รวมทั้งปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อที่อาจจะเกิดเพิ่มขึ้นในอนาคต

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2025-02-19

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)