ประสิทธิผลการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สุมาลี ใหม่คามิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินประสิทธิผลการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จการดำเนินงาน 3) เพื่อกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานในรอบปีถัดไป รูปแบบเป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) มี  3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์และศึกษาบริบทของหมู่บ้าน ตำบล ระยะที่ 2 การปฏิบัติการตามแผน ระยะที่ 3 การประเมินผล กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพภาคประชาชนระดับอำเภอ จำนวน 26 คน 2) คณะกรรมการชมรมรม อสม.จังหวัด จำนวน 44iคน ขอบเขตการพัฒนางานคือทั้งหมดใน 13 อำเภอของจังหวัดมหาสารคาม (1,980iหมู่บ้าน)ระยะเวลาการพัฒนา คือ ตุลาคม 2558 - กันยายน 2559 เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ 1) แบบประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพ 2) แบบประเมินทักษะในการประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า 1) ผลการประเมินปี 2558ครอบคลุมเป้าหมายหมู่บ้านทั้งหมดเพียง ร้อยละ 95.61 เหลือที่ไม่ได้ประเมินอีกจำนวน 87 หมู่บ้าน ในพื้นที่ 4 อำเภอ 2) ผลการประเมินหมู่บ้านของปี 2558 ผ่านเกณฑ์เพียง ร้อยละ 94.75 โดยอำเภอที่มีผลงานน้อย คือโกสุมพิสัย ร้อยละ 79.40 โดยมีหมู่บ้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์ 17 หมู่บ้าน ร้อยละ 0.86 2) เครือข่ายร่วมดำเนินงานไม่มีศักยภาพในการดำเนินงานตามแผน และการพัฒนางานยังไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ 3) แผนงานเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนางานในปี 2558 ประกอบด้วย 8 กิจกรรมดำเนินการ (1) การวิเคราะห์ปัญหาและการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (2) การขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ (3) การสร้างความเข้าใจต่อผู้ปฏิบัติงาน (4) การพัฒนาทักษะด้านการประเมิน (5) การพัฒนาเครือข่ายหมู่บ้านจัดการสุขภาพระดับจังหวัด (6) การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน (7) การติดตามผลในพื้นที่ระหว่างการดำเนินงาน 3 ครั้ง (8) การสะท้อนผลการพัฒนา และในปี 2559 เพิ่มอีก 3 กิจกรรม คือ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับจังหวัด การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่จริงและการค้นหาการปฏิบัติที่ดีในระดับหมู่บ้าน ระยะที่ 2 พบว่า ภายในรอบปี 2558 ดำเนินการได้ครบทุกกิจกรรม (8 กิจกรรม) ร้อยละ 100 และในรอบปี 2559 ดำเนินการได้ครบทุกกิจกรรม (11 กิจกรรม) ร้อยละ 100 ระยะที่ 3 พบว่า ผลการประเมินหมู่บ้านของปี 2559 ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 99.29 (สูงขึ้นจากปี 2558 ร้อยละ 4.79) โดยแบ่งเป็นระดับดีเยี่ยม จำนวน 1,167 หมู่บ้าน (ร้อยละ 58.94) ระดับดีมาก จำนวน 205 หมู่บ้าน (ร้อยละ 10.35) ระดับดี จำนวน 594 หมู่บ้าน (ร้อยละ 30) ระดับพัฒนา จำนวน 11 หมู่บ้าน (ร้อยละ 0.56) โดยมีหมู่บ้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 2 หมู่บ้าน ร้อยละ 0.10 (ลดลงจากปี 2558 จำนวน 15 หมู่บ้าน) โดยค่าเฉลี่ยคะแนนการประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพหลังดำเนินการ (ปี 2559) สูงกว่าก่อนดำเนินการ (ปี 2558) อย่างมีนัยสำคัญ (p-value = 0.02)  ผลการพัฒนาทักษะด้านการประเมินหมู่บ้านในกลุ่มผู้รับผิดชอบงาน พบว่า หลังการอบรมของปี 2559 มีทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญ (p-value = 0.031) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ (1) การมีส่วนร่วม (2) การกำหนดนโยบายและถ่ายทอดสู่การปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง (3) การควบคุมกำกับและติดตามอย่างต่อเนื่อง (4) มีการสื่อสารร่วมกันอย่างทั่วถึง (5) มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการดำเนินงาน (6) มีการประเมินผลงานที่เข้มแข็ง (7) มีความมุ่งมั่นและสามัคคีของผู้รับผิดชอบงาน    โดยกลยุทธ์การดำเนินงานในรอบปีถัดไปควรประกอบด้วย (1) การวิเคราะห์ปัญหาและการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (2) การขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ (3) การสร้างความเข้าใจต่อผู้ปฏิบัติงาน (4) การพัฒนาทักษะด้านการประเมินของกลุ่มคณะกรรมการชมรมรม อสม.จังหวัด (5) การพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่ายหมู่บ้านจัดการสุขภาพระดับจังหวัด (6) การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน (7) การติดตามผลงานในพื้นที่ระหว่างการดำเนินงานไตรมาสละ 1 ครั้ง (8) การสะท้อนผลการพัฒนา (9) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติ (10) การสร้างขวัญกำลังใจเพื่อสร้างแรงจูงใจ การวิจัยประสิทธิผลการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ จังหวัดมหาสารคาม เกิดแนวทางปฏิบัติที่ดีตาม Model M-S-K-P-O-R เพื่อ ได้แก่ (1) M:Meeting : การจัดเวทีประชุมองค์กร อสม. S:Staff : ทีมบุคลากรสาธารณสุข อสม และ ผู้นำด้านสุขภาพในชุมชน (2) K:Knowledge : การจัดการความรู้ เวทีเรียนรู้ชุมชน (3) P:Process กระบวนการสร้างความเข้มแข็งทีมแกนนำชุมชนและบุคลากรสาธารณสุข (4) O:Outputiผลสำเร็จของกิจกรรม (5) R:Reflect สะท้อนผลและร่วมทบทวนการดำเนินกิจกรรมสุขภาพของชุมชน

 

คำสำคัญ : หมู่บ้านจัดการสุขภาพ, ประสิทธิผลการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ

 

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-10-26

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)