ตัวแบบการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สนธยา บัวผาย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 3) เพื่อสร้างตัวแบบการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข ในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 377 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความตรงโมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม Mplus กลุ่มเป้าหมายให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่
ผู้บริหาร นักวิชาการ และฝ่ายสนับสนุน จำนวน 10 คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและอภิปรายเชิงพรรณนาความ

           ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x= 3.75) 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม โดยเรียงลำดับค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลโดยรวมจากมากไปหาน้อย คือ นโยบายส่งเสริมจากภาครัฐ ภาวะผู้นำการ
เปลี่ยนแปลง การมีส่วนร่วมของประชาชน การทำงานเป็นทีม เครือข่ายในการทำงาน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ โดยทั้ง 6 ปัจจัย สามารถอธิบายการผันแปรในประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม ได้ร้อยละ 50.40 (R2 = 0.504) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งโมเดลความสัมพันธ์ของตัวแบบการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคามมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์  test p-value = 0.560, / df = 1.408, GFI = 0.999, CFI = 0.997, RMSEA = 0.036, RMR = 0.006 และ 3) ตัวแบบการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม มีจำนวน 6 แนวทางการพัฒนา ดังนี้
1) การพัฒนาด้านนโยบายส่งเสริมจากภาครัฐ 2) การพัฒนาด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 3) การพัฒนาด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน 4) การพัฒนาด้านการทำงานเป็นทีม
5) การพัฒนาด้านเครือข่ายในการทำงาน และ 6) การพัฒนาด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

 

คำสำคัญ: ตัวแบบ, การพัฒนา, ประสิทธิภาพ, การปฏิบัติงาน

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-10-26

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)