ปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่รักษาแบบแยกกักตัวที่บ้าน โรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษณ์ ภูตเขต

บทคัดย่อ

                                                                                                                       บทคัดย่อ

            โรงพยาบาลวาปีปทุมให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19 แบบแยกกักตัวที่บ้านอย่างเต็มรูปแบบ แต่พบว่าผู้ป่วยบางรายมีอาการรุนแรงมากขึ้น ต้องได้รับการส่งไปรักษาที่         โรงพยาบาลและมีผู้ป่วยบางรายเสียชีวิตที่บ้าน ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional study) เพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการรุนแรงและเสียชีวิตของผู้ป่วย           โรคโควิด-19 ที่รักษาแบบแยกกักตัวที่บ้าน ภายใต้การดูแลของระบบปฐมภูมิ โรงพยาบาลวาปีปทุม โดยใช้ข้อมูลผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวน 5,052 ราย ที่บันทึกในฐานข้อมูลและ         เวชระเบียน ระหว่างวันที่ 8 มีนาคม ถึง 30 เมษายน 2565 ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน logistic regression ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุมากกว่า 60 ปี (AOR = 2.03 95%CI 1.09, 3.79) และการมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงอย่างน้อย 1 ใน 3 ปัจจัย ได้แก่ โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ (AOR = 4.76 95%CI 2.09, 10.83) ดังนั้นผู้ป่วยโรคโควิด-19 มีปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตดังกล่าว ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดหรือรักษาในโรงพยาบาลเพื่อลดอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตที่บ้าน

 

คำสำคัญ : โรคโควิด 19, แยกกักตัวที่บ้าน, อาการรุนแรง, เสียชีวิตที่บ้าน

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-12-02

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)