รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายยาแผนปัจจุบัน ตามวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน ในจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • เกษียร นวนน่วม Maha Sarakham Provincial Public Health Office

บทคัดย่อ

บทนำ : การคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์ยา เป็นบทบาทหน้าที่ของวิชาชีพเภสัชกรรม โดยเฉพาะเภสัชกรผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการร้านยา จึงมีหน้าที่ให้บริการและคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาแก่ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไปที่มาใช้บริการ เช่น ร้านขายยาแผนปัจจุบัน ในศูนย์การค้า หรือร้านขายยาแบบ Chain Store เป็นต้น อย่างไรก็ตามเภสัชกรมักจะเป็นผู้ดำเนินการและเป็นเจ้าของในรูปแบบต่างๆ โดยอาจดำเนินการอิสระหรือลักษณะรวมกันและเป็นผู้ประกอบการ จึงควรมีการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานร้านยาภายใต้วิธีปฏิบัติทาง เภสัชกรรมชุมชนให้มีมาตรฐานและบริการที่มีคุณภาพ ทำให้ผู้ใช้ยามีความปลอดภัย

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษากระบวนการสร้างอนาคตร่วมกัน (Future Search Conference : FSC) ในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ขย.1) ตามวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน (GPP) ในจังหวัดมหาสารคาม วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการประเมินตามวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน (GPP) ของร้านขายยาแผนปัจจุบัน และ 3) สร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ขย.1) ตามวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน (GPP) ในจังหวัดมหาสารคาม

วิธีวิจัย : เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method Research) ระยะที่ 1 วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประยุกต์ใช้เทคนิคการสร้างอนาคตร่วมกัน (Future Search Conference : FSC) ในกลุ่มเป้าหมายผู้ประกอบการร้านขายยาแผนปัจจุบัน เพื่อกำหนดแนวทางพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายยา
แผนปัจจุบัน (ขย 1) และระยะที่ 2 วิธีวิจัยเชิงปริมาณศึกษาในประชากรร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ขย.1) ในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 128 ร้าน ในพื้นที่ 13 อำเภอ รยะเวลาศึกษา ระหว่าง ตุลาคม 2561 – กันยายน 2565

ผลการศึกษา : กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจและมีความต้องการให้หน่วยงานที่กำกับดูแล ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ในภาพรวมระดับมาก ร้อยละ 96.34 โดยให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมกับกระบวนการสร้างอนาคตร่วมกัน ร้อยละ 100.00 กลุ่มเป้าหมายได้ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์วิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน (GPP) ในอดีตเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและคาดหวังสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต และกำหนดแนวทางรวมทั้งข้อตกลงร่วมกันเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการฯ ให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และผลวิจัยในกลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลสำคัญ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 67.10 เพศชาย ร้อยละ 32.90 อายุเฉลี่ย 40.20 (SD = 10.56) มีเภสัชกรผู้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ประจำ ณ สถานที่ขายยาแผนปัจจุบันตลอดเวลาที่เปิดทำการ ร้อยละ 75.56 และร้อยละ 92.00 มีความพร้อมในการปฏิบัติตามมาตรฐาน GPP ส่วนผลประเมินการปฏิบัติตามวิธีทางเภสัชกรรมชุมชน (GPP) ในภาพรวม มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ระดับดี ค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 1.73 (SD = 0.34) โดยมีคะแนนผลการประเมินภาพรวมผ่านเกณฑ์ระดับดี (ระดับ 2) ร้อยละ 82.80 รองลงมามีคะแนนผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์พอใช้ (ระดับ 1) ร้อยละ 13.20 และคะแนนผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องปรับปรุง ร้อยละ 4.00 ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการประเมินตามวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน (GPP) ของร้านขายยาแผนปัจจุบัน ในจังหวัดมหาสารคาม ได้แก่ ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลด้านเพศ ปัจจัยด้านการมีเภสัชกรผู้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ประจำ ณ สถานที่ขายยาแผนปัจจุบันตลอดเวลาที่เปิดทำการ ปัจจัยด้านการส่งเสริมสนับสนุนเกี่ยวกับกฎหมาย ประกาศและข้อกำหนดที่เปลี่ยนแปลงของหน่วยงานภาครัฐ ปัจจัยด้านการใช้งบประมาณที่สูงขึ้นเพื่อพัฒนาร้านขายยาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน GPP ปัจจัยด้านจรรยาบรรณของวิชาชีพหรือจิตสำนึกของเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการประจำร้านขายยา และปัจจัยด้านการบริการให้คำปรึกษาแนะนำและสื่อสารกับผู้บริโภคหรือลูกค้าที่มารับบริการเป็นอย่างดีและมีความพึงพอใจ โดยตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 6 ตัวแปร มีอำนาจในการพยากรณ์หรือสามารถอธิบายความแปรปรวนของคะแนนผลการประเมินตามวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน (GPP) ของร้านขายยาแผนปัจจุบัน ในจังหวัดมหาสารคาม ได้ ร้อยละ 50.90 (R2 = 0.509, P < 0.05) และนำสมการณ์พยากรณ์ไปสร้างเป็นรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายยา แผนปัจจุบัน (ขย 1) ตามวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน (GPP) ในจังหวัดมหาสารคาม

 

คำสำคัญ : รูปแบบการพัฒนาศักยภาพ, วิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน, ร้านขายยาแผนปัจจุบัน

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-10-18

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)