การพัฒนารูปแบบการประเมินประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์โฮมสุข ในการดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วย Sub – acute ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • โชคชัย มงคลสินธุ์ Kalasin Provincial Public Health Office

บทคัดย่อ

การศึกษาพัฒนารูปแบบการประเมินประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์โฮมสุขในการดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วย (Sub – acute) ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง 56 แห่ง ใช้กระบวนการกลุ่มสนทนา และการสัมภาษณ์เจาะลึก เพื่อกำหนดรูปแบบการประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ด้วยสถิติ Analysis of covariance (ANCOVA)

ผลการศึกษาตามการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน พบว่า 1) องค์ประกอบมาตรฐานพื้นฐานการจัดตั้งศูนย์โฮมสุข ส่วนใหญ่มีองค์ประกอบในระดับดีมาก
2) คุณลักษณะสำคัญ ศูนย์โฮมสุข ที่เป็นอัตลักษณ์ “H-O-M-E-S-U-K” ส่วนใหญ่มีมาตรฐานเกรด A มีศักยภาพในระดับดี 3) การประเมินเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยของความบกพร่องในการทำงาน / ความลำบากในการทำกิจกรรม หลังรับบริการมีค่าคะแนนเฉลี่ยลดลงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.001 4) การประเมินความสมดุลของร่างกายผู้พิการ ผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ป่วย (Sub – acute) มีแนวโน้มในการหกล้มตามแบบสอบถาม Berg Balance Scale (BBS) ส่วนใหญ่มีความเสี่ยงต่อการหกล้มมาก 5) การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความพึงพอใจต่ออาสาสมัครศูนย์โฮมสุขในระดับมากที่สุด จากการมีรูปแบบในการประเมินประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์โฮมสุข และมีผลการประเมินสามารถสะท้อนประสิทธิผลสร้างความเชื่อถือ ทั้งทางด้านบริการ และด้านวิชาการ

 

 

คำสำคัญ : ศูนย์โฮมสุข, ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ป่วย Sub – acute, ปัญหาด้านการเคลื่อนไหว

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-10-18

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)