การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่ได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูง หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ชาญศิริ วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนที่มีอัตราไหลสูง โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย และศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบ โดยประยุกต์จากแบบประเมิน PEWS (Pediatric early warning score) สำหรับผู้ป่วยเด็กกลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย เป็นเครื่องมือประเมินเบื้องต้น แล้วสามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติได้ กลุ่มตัวอย่างวิจัย คือ ผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับบริการในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม และได้รับเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 124 คน
แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มก่อนการพัฒนาการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนที่มีอัตราไหลสูง จำนวน 38 คน และ 2) กลุ่มหลังพัฒนาการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนที่มีอัตราไหลสูง จำนวน 86 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนที่มีอัตราการไหลสูง
2) แบบบันทึกการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย และ 3) แบบบันทึกจำนวนวันนอนและจำนวนวันใช้ High Flow Nasal Cannula (HFNC) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ One Sample t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัย

พบว่า 1) แนวปฏิบัติมีความตรงเชิงเนื้อหาการหาค่ามีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จนเกิดผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง และ 2) จำนวนวันนอนและจำนวนวันใช้ High Flow Nasal Cannula (HFNC) ของผู้ป่วยเด็ก ก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

คำสำคัญ : การบำบัดด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูง, รูปแบบการพยาบาล

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-24

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)