การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรง หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • Supamit รินทร์น้อย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรง (Severe sepsis) และภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic shock) และ 2) เพื่อประเมินผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรงหรือภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด

รูปแบบและวิธีวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ใช้การพัฒนารูปแบบวงจรเดมมิ่ง (Deming cycle) ระยะเวลาวิจัยระหว่างเดือน กรกฎาคม - ตุลาคม 2566 กลุ่มเป้าหมายและผู้ร่วมวิจัยได้แก่ พยาบาลในหอผู้ป่วย จำนวน 52 คน และผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสเลือดเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยใน จำนวน 25 คน ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test เพื่อประเมินผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรง

ผลการศึกษา : 1) ได้รูปแบบการดูแลผู้ป่วย ที่เกิดประกอบด้วยกิจกรรมเป็นแนวทางในการพัฒนาคู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) จำนวน 10 รายการ 2) ความพึงพอใจของพยาบาลต่อรูปแบบจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วย อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (mean = 4.58, S.D = .572) 3) ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของรูปแบบการดูแลผู้ป่วย พบว่าจำนวนผู้ป่วยที่เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรงลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)

ประโยชน์ : การวิจัยนี้ได้นำเสนอคู่มือในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรงผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยในการลดความเสี่ยงในการลดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิตจากสาเหตุติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรงได้ ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยได้

 

คำสำคัญ : การติดเชื้อในกระแสเลือดรุนแรง, ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ, รูปแบบการดูแลผู้ป่วย, ความพึงพอใจ

 

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-24

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)