การพัฒนาระบบบริการคลินิกเบาหวานแบบวิถีใหม่โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • พัฒน์สรณ์ บุราณรักษ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของระบบบริการแบบวิถีใหม่คลินิกเบาหวาน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

            วิธีการศึกษา : การวิจัยและพัฒนาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – 30 กันยายน 2565 กลุ่มตัวอย่าง 1) ทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่าย จำนวน 55 คน 2) ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 762 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการดูแล คู่มือปฏิบัติการจัดบริการ แบบบันทึกภาวะสุขภาพ แบบสอบถามความพึงพอใจ ดำเนินการ 3 ระยะ 1) เตรียมการ 2) พัฒนารูปแบบ  3) ทดลองใช้และประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

            ผลการศึกษา : เป็นระบบบริการที่จำแนกผู้ป่วยเบาหวานออกเป็น 3 กลุ่ม ประยุกต์ใช้ 3 หมอ การสนับสนุนการจัดการตนเอง ดังนี้ 1) กลุ่มควบคุมโรคได้ดี ดูแลโดยอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และส่งยาที่บ้าน 2) กลุ่มควบคุมโรคได้ปานกลาง ดูแลโดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 3) กลุ่มควบคุมโรคไม่ดี ดูแลโดยแพทย์ให้คำแนะนำ ติดตามการปฏิบัติตัวโดยใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ และระบบโทรเวชกรรมทางไกล ผลหลังการพัฒนาระบบ พบว่า ลดความแออัดเหลือ
15 - 20 คนต่อวัน ลดระยะเวลารอคอยเฉลี่ยจากเป็น 46.32 นาที ระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ยลดลงเป็น 7.93 ผู้ให้และผู้รับบริการมีความพึงพอใจในระดับมาก

            บทสรุป : ระบบบริการคลินิกเบาหวานแบบวิถีใหม่โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนนี้สามารถลดความแออัด ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น

 

คำสำคัญ : ระบบบริการวิถีใหม่, ผู้ป่วยเบาหวาน, โทรเวชกรรมทางไกล

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)